หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระกฤษณพล คุณงฺกโร (กลิ่นพยอม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
แนวทางการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระกฤษณพล คุณงฺกโร (กลิ่นพยอม) ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร
  ประเสริฐ ธิลาว
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ๒. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อแนวทางการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระสงฆ์ ในพื้นที่ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง จำนวน ๑๕๒ รูป จากจำนวนประชากรทั้งหมด ๒๔๕ รูป เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๕๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ โดยการวิเคราะห์หาความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด การวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดผู้ให้ข้อมูลหลัก ๘ รูป/คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เกี่ยวข้องกับการบริหาร เครื่องเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ตัวต่อตัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาความ

 

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

 

๑. แนวทางการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง ทั้ง ๔ ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (  = ๔.๒๓) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การบริหารจัดการกิจจาธิกรณ์ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดอยู่ที่ (  =.๕๒) รองลงมา คือด้านการบริหารจัดการอาปัตตาอธิกรณ์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (  =.๑๙) รองลงมา คือด้านการบริหารจัดการอนุวาทาธิกรณ์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ (  = .๑๑) และลำดับสุดท้าย คือด้านการบริหารจัดการวิวาทาธิกรณ์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่
(
 = ๔.๑๐)

๒. เปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อแนวทางการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พระสงฆ์ที่มีวุฒิการศึกษาทางธรรมและวุฒิการศึกษาบาลี ต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนพระสงฆ์ที่มีอายุ พรรษา วุฒิการศึกษาสามัญ และตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

๓. ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อแนวทางการบริหารจัดการอธิกรณ์ของคณะสงฆ์ อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง โดยพบปัญหาในแต่ละด้าน ดังนี้ ๑. ด้านวิวาทาธิกรณ์ เช่น ทั้งสองฝ่ายยกเหตุผลว่าตนเป็นฝ่ายถูกต้องเสมอ และการทะเลาะวิวาทกันเรื่องพระธรรมวินัย ๒. ด้านอนุวาทาธิกรณ์ เช่น การถกเถียงกันเรื่องวินัยบางข้อ เช่น การรับเงินและทองเป็นต้น และปัญหาการใส่ร้ายป้ายสี ฟ้องร้องกันด้วยเรื่องอันหาเหตุมิได้ ๓) ด้านอาปัตตาธิกรณ์ เช่น พระภิกษุบางรูปยังดื่มของมึนเมา ซึ่งขาดการดูแลเอาใจใส่จากเจ้าคณะผู้ปกครอง และการละเมิดกฎเกณฑ์น้อยใหญ่ และ ๔) ด้านกิจจาธิกรณ์ เช่น ภิกษุไม่มีความรู้เท่าที่ควร ไม่ศึกษา ดื้อรั้น ทะนงตน เช่นไม่ร่วมลงอุโบสถ และเรื่องพิธีกรรมต่างๆ และการลงโทษผู้กระทำผิดให้สำนึกผิด

          ข้อเสนอแนะในแต่ละด้าน ดังนี้ ๑) ด้านวิวาทาธิกรณ์ ศาสนาได้วางหลักธรรมคำสอนไว้เป็นพื้นฐานเพื่อการอยู่ร่วมกันด้วยความสามัคคี ๒) ด้านอนุวาทาธิกรณ์ การตัดสินต้องใช้ความยุติธรรมเป็นหลักสำคัญเพื่อให้เป็นประชาธิปไตย ๓) ด้านอาปัตตาธิกรณ์ เจ้าคณะผู้ปกตรองควรสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด จริงจังและต่อเนื่อง. และ ๔) ด้านกิจจาธิกรณ์ ไม่ควรรับคนอายุเกิน ๖๐ ปีเข้ามาบวช, กิจธุระที่สงฆ์ต้องมีความสามัคคีพร้อมใจกันทำให้สำเร็จ

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕