หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เกวลี บุญเทียน
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๔ ครั้ง
การจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : เกวลี บุญเทียน ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  รัฐพล เย็นใจมา
  ธิติวุฒิ หมั่นมี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑. เพื่อศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ๒. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม และ ๓. เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
                การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๙๖ กลุ่มตัวอย่าง       คือ ประชาชนที่เป็นนักท่องเที่ยวในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน ๔๐๐ คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบตัวต่อตัวจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๘ คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

. การจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = .๙๘, S.D. = .๕๔๘) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ๑. ด้านสถานที่ท่องเที่ยว (  = .๐๒, S.D. = .๖๕๙) ๒. ด้านการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ (  = .๙๒, S.D. = .๖๒๖) ๓. ด้านประชาชนในท้องถิ่น (  = .๙๔,
S.D. = .๖๙๓)  ๔. ด้านร้านค้า (
 = .๐๑, S.D. = .๖๓๓) ๕. ด้านร้านอาหารและเครื่องดื่ม (  = .๙๙, S.D.  = .๖๐๙)

. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอำเภออัมพวา โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีระดับการศึกษา ต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย และจำนวนครั้งที่มาใช้บริการการท่องเที่ยวต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีเพศ และอายุ ต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงปฏิเสธสมมติฐานการวิจัย

. ปัญหา อุปสรรค การจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ คือ สินค้าเครื่องอุปโภคบริโภคค่อนข้างมีราคามากเกินไป ที่นั่งทานอาหารมีน้อยที่พักสำหรับพักผ่อนไม่เพียงพอ สถานที่จอดรถมีจำนวนน้อยมาก จำนวนห้องน้ำไม่มากพอ ทางเดินค่อนข้างแคบ ที่นั่งรับประทานอาหารริมน้ำไม่ค่อยสะดวก ข้อเสนอแนะ คือ หน่วยงานรัฐควรเข้ามาดูแลในสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่านี้ ควรมีที่นั่งพักผ่อนให้หลายๆจุดกว่านี้ ควรปรับปรุงที่นั่งทานอาหารริมน้ำตรงขั้นบันได ควรเพิ่มจุดเด่นของสถานที่ท่องเที่ยวให้ดีขึ้น ควรเพิ่มที่จอดรถสำหรับผู้ที่มาท่องเที่ยว ควรมีห้องน้ำสาธารณะที่สะดวกมากกว่านี้ ควรขยายพื้นที่ในการเดินให้เพียงพอสำหรับท่องเที่ยว

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕