หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ธนภรณ์ ตั้งเพชรศิริพงษ์
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๘ ครั้ง
เจตคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิตและความตายในกลุ่มเขากะลา ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ (สาขาวิชาชีวิตและความตาย)
ชื่อผู้วิจัย : ธนภรณ์ ตั้งเพชรศิริพงษ์ ข้อมูลวันที่ : ๐๖/๐๓/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
  เริงชัย หมื่นชนะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

                       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาเจตคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิตและความตายในกลุ่มเขากะลา ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นตามเจตคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิตและความตายในกลุ่มเขากะลา ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ๓) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมต่อชีวิตและความตายกับปัจจัยเจตคติของพุทธศาสนิกชนในกลุ่มเขากะลา ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์     ๔) เพื่อนำเสนอปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเจตคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิตและความตายในกลุ่มเขากะลา ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

๑. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ เจตคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิตและความตายในกลุ่มเขากะลา ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ คือหลักธรรมต่อชีวิตและความตาย ได้แก่ ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และเจตคติของพุทธศาสนิกชน ประกอบด้วย ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านพฤติกรรม พบว่า โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก

๒. การเปรียบเทียบ เจตคติของพุทธศาสนิกชนต่อชีวิตและความตายในกลุ่มเขากะลา ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ คือหลักธรรมต่อชีวิตและความตาย มีด้านอนิจจัง ด้านทุกขัง ด้านอนัตตา จำแนกตาม อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม และความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า จำแนกตาม อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระยะเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม และความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรม ไม่ต่างกันซึ่งปฏิเสธสมมติฐานและไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า ต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และ เจตคติของพุทธศาสนิกชน ประกอบด้วย ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านพฤติกรรม จำแนกตาม อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม และความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า จำแนกตาม อายุ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม และความถี่ในการเข้าร่วมกิจกรรม ไม่ต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานและไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓. การวิเคราะห์แสดงสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมต่อชีวิตและความตายกับปัจจัยเจตคติของพุทธศาสนิกชน คือ ความสัมพันธ์ต่อหลักธรรมต่อชีวิตและความตาย ได้แก่ ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พบว่า โดยรวม ทุกคู่ มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และความสัมพันธ์ต่อปัจจัยเจตคติของพุทธศาสนิกชน ได้แก่ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านพฤติกรรม พบว่า โดยรวม ทุกคู่              มีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ และ.๐๑ เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕