หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมุห์จักรพงศ์ จนฺทสีโล (มาศตุการักษ์)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๘ ครั้ง
ศึกษาการทรงผ้าจีวรของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาในเถรวาท
ชื่อผู้วิจัย : พระสมุห์จักรพงศ์ จนฺทสีโล (มาศตุการักษ์) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๐๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูพิพิธจารุธรรม
  ประพัฒน์ ศรีกูลกิจ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๑ ตุลาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 วิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาการทรงผ้าจีวรของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาในเถรวาท      มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาจีวรที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา (๒) เพื่อศึกษาพัฒนาการจีวรในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ (๓) เพื่อศึกษาคุณค่าการใช้จีวรในพระพุทธศาสนา วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎกและเอกสารที่เกี่ยวข้อง  

ผลการศึกษาวิจัย พบว่า :

    จีวรในพระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง เครื่องนุ่งห่มของพระภิกษุสามเณร               ในพระพุทธศาสนา ดังที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ว่าผ้าบังสุกุลจีวร คือผ้าเก่าที่เปื้อนฝุ่น เก็บจากที่    เขาทิ้งตามกองขยะหรือห่อศพไปทิ้งไว้ในป่าช้าแล้วนำเอามาซักล้างตัดเย็บเป็นจีวร ที่เป็นเครื่องนุ่งห่มในวิถีชีวิตพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้ที่ใช้ชีวิตเรียบง่าย จึงกลายเป็นวิถีชีวิตที่ยุ่งยากซับซ้อน คือ ใช้ผ้าจีวรที่มากกว่าผ้าที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ใช้เพียง ๓ ผืนเท่านั้น คือ สังฆาฏิ , อุตราสงค์ , อันตรวาสกให้สะดวกต่อการดำเนินชีวิตของพระภิกษุ จีวร ปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน    ๘ อย่าง ซึ่งได้แก่ ผ้า ๕ อย่างคือ สบง ประคตเอว จีวร สังฆาฏิ ผ้ากรองน้ำ และเหล็ก ๓ อย่างคือ บาตร มีดโกน เข็มเย็บผ้าจีวรเป็นชื่อเรียกผ้าที่พระสงฆ์ใช้สอย ใช้เรียกทั้งผ้านุ่งผ้าห่ม เช่น คำว่า    ไตรจีวรถึงผ้า ๓ ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม สำหรับผ้าห่มเรียกได้เฉพาะว่า อุตราสงค์จีวรประกอบด้วยผ้าที่ตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน เป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือผู้อื่นมักไม่ต้องการไป   ตัดเย็บอีก เหมาะสมกับสมณะ ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ ที่เย็บต่อกันนั้นเป็นลายคันนา ซึ่งออกแบบโดยพระอานนท์ที่พระสงฆ์ได้นุ่งห่มกันมาจนถึงปัจจุบันนี้

    ความหมายการทรงใช้ “จีวร” ของพระสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา นั้น มีมากเพราะว่า     ผ้าจีวร เป็นผ้าที่พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพกราบไหว้ถือว่าเป็นของที่สูงอย่างยิ่ง และผ้าจีวรที่  ย้อมด้วยสีน้ำฝาด ที่ปรากฏในบาลี ผ้าชนิดนี้เรียกว่า กาสายะผู้ที่จะสวมใส่ หรือนุ่งห่มได้ ก็เฉพาะผู้ที่    เข้า มาบวชในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ศาสนาอื่นๆ ถึงเอาไปสวมใส่ก็ไม่เรียกว่า จีวร

             การใช้สอยเครื่องนุ่งห่มของภิกษุสงฆ์นี้ก็เพื่อจะให้ใช้อย่างระมัดระวังฝึกให้มีสติสัมปัญญะโดยตลอดไม่ทรงให้ใช้เพื่อความสวยงาม หรือ หรูหรา โดดเด่นแต่ให้เป็นไปเพื่อกันแดด กันลม       กันหนาวและเหลือบยุงมาสัมผัส

    จากการศึกษาความสำคัญคุณค่าประโยชนของจีวรในดานพระพุทธศาสนา  การศึกษาการทรงจีวรของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนาในเถรวาท พอสรุปได ๒ อยางดังนี้คือ (๑) เพื่อการสืบทอดพระวินัย วิธีการรักษาสืบทอดพระวินัยที่ดีที่สุดก็คือ การศึกษาเรียนรูและการประพฤติปฏิบัติตนใหถูกตองตรงตามพระวินัยที่พุทธองคทรงบัญญัติเอาไว ใหพระวินัยอยูในตัวของพระภิกษุ ไม่ว่า   จะเปนบทบัญญัติเกี่ยวกับการนุงหมจีวรหรือการโคจรบิณฑบาต จะตองไมลวงละเมิดสิกขาบททั้งหลายและ(๒) เพื่อการเผยแผพระพุทธศาสนา เกี่ยวกับนุงหมทรงจีวรของภิกษุสามเณรหรือวา     เปนการออกไปประกาศพระพุทธศาสนาทั้งทางตรงและทางออมการออกไปแสดงตัวใหชาวบานไดเห็นถึงวิถีการเปนอยูของนักบวชที่ตั้งอยูบนพื้นฐานของความเรียบงาย มักนอยสันโดษ เปนคนเลี้ยงงาย  มีอินทรียสังวร

Download 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕