หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » มานิตา ชูช่วย
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๒ ครั้ง
จิตบริการของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเชิงพุทธบูรณาการ: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์
ชื่อผู้วิจัย : มานิตา ชูช่วย ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๑๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ)
  ประพันธ์ ศุภษร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ คือ (๑) เพื่อศึกษาจิตบริการของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา          (๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมจิตบริการของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเชิงพุทธบูรณาการ: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์ (๓) เพื่อบูรณาการจิตบริการของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาด้วยหลักพุทธธรรมเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาทั้งเอกสารและสัมภาษณ์และสรุปผลการวิจัยในรูปแบบพรรณาโวหารผลการวิจัยพบว่า

              จิตบริการของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา คือจิตที่พร้อมให้บริการด้วยความจริงใจ อำนวยความสะดวก ให้ความช่วยเหลือกับผู้มารับบริการ จนบรรลุเป้าหมายของผู้ให้บริการ เพื่อให้เขาได้รับประโยชน์ให้มากที่สุด มีประสิทธิภาพ ด้วยรอยยิ้มของผู้ให้บริการสร้างประทับใจแก่ผู้มารับบริการ ให้บริการด้วยความเสมอภาค ทันต่อเวลา เพียงพอ ต่อเนื่อง เกิดความก้าวหน้าในการให้บริการด้วยจิตที่มีเมตตา มีความสุภาพอ่อนโยนยินดีให้บริการด้วยการให้การช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้ให้บริการอย่างเต็มใจ เต็มความสามารถ

              หลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมจิตบริการของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาเชิงพุทธบูรณาการ คือ หลักสังคหวัตถุ ๔ ได้แก่ ๑) ทาน การให้ ๒) ปิยวาจา การกล่าวคำพูดที่สุภาพ ไพเราะอ่อนหวาน
๓) อัตถจริยา การประพฤติตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ๔) สมานัตตตา การเป็นผู้มีความประพฤติตนเสมอต้นเสมอปลาย
หลักพรหมวิหาร ๔ หลักธรรม ที่ทำให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ๑) เมตตา ความรักปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุขอย่างบริสุทธิ์ใจ ๒) กรุณา สงสารช่วยเหลือให้ผู้อื่นได้พ้นจาก
ความทุกข์ ๓) มุทิตา พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นประสบผลสำเร็จ ๔) อุเบกขา วางเฉย มีความยุติธรรมวางใจเป็นกลางไม่มีอคติ

              บูรณาการจิตบริการของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาด้วยหลักพุทธธรรมโดย
๑) การให้บริการอย่างเสมอภาค ตามหลักสมานัตตาและอุเบกขา การให้ความสำคัญทุกคนอย่าง
เท่าเทียมกันให้บริการด้วยความยุติธรรมวางใจเป็นกลาง ๒) การให้บริการอย่างตรงต่อเวลา
ตามหลักทานและกรุณา การให้บริการคำนึงถึงความจำเป็นเร่งด่วน ให้บริการอย่างตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ ๓) การให้บริการอย่างเพียงพอ ตามหลักอัตถจริยาและเมตตา การให้บริการ
ที่เกิดประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นจำนวนเพียงพอเหมาะสมปริมาณที่ครบถ้วนมีคุณภาพด้วยเมตตาเป็นคุณธรรมที่มาหล่อเลี้ยงจิตใจในการให้บริการ ๔) การให้บริการอย่างต่อเนื่อง ตามหลักสมานัตตตาและกรุณา การให้การบริการอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เสมอต้นเสมอปลายไม่ให้ขาดตกบกพร่องมีกรุณาเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงในการให้บริการ ๕) การให้บริการอย่างก้าวหน้า ตามหลักปิยวาจาและมุทิตา การกล่าวคำพูด สิ่งที่เกิดความรู้ ความเข้าใจ โดยมีมุทิตาเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตให้เกิดความบันเทิงใจด้วยความปรารถนาดี ยินดี ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาคุณภาพของผลการปฏิบัติงานให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น
 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕