หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระพยัพ อาสโภ (สังวรลิ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๐ ครั้ง
การจัดการความรู้ตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ (สาขาวิชาการบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระพยัพ อาสโภ (สังวรลิ) ข้อมูลวันที่ : ๑๑/๑๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีสุธรรมนิวิฐ
  พระมหาอุดร อุตฺตโร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการความรู้ตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ ๒) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นบุคลากรต่อการจัดการความรู้ตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อเสนอแนวทาง

ในการจัดการความรู้ตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
จังหวัดนครสวรรค์
ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา
(Descriptive Research) โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม จำนวน ๑๐๗ รูป/คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ด้วยการหาค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
แล้วทำการเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากร เมื่อพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบความคิดเห็น
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ส่วน
การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Research) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) จำนวน ๘ รูป แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า :

๑) สภาพการจัดการความรู้ตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์มีทั้งหมด ๗ ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ได้แก่
๑) ด้านการกำหนดความรู้ตามหลักไตรสิกขา ๒) ด้านการแสวงหาความรู้ตามหลักไตรสิกขา
๓) ด้านการจัดการความรู้ให้ระบบตามหลักไตรสิกขา ๔) ด้านการกลั่นกรองความรู้ตามหลักไตรสิกขา
๕) ด้านการเข้าถึงความรู้ตามหลักไตรสิกขา ๖) ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ตามหลักไตรสิกขาและ ๗) ด้านการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด
อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ๒ ด้าน ได้แก่
ด้านการกำหนดความรู้ตามหลักไตรสิกขาและ
ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ตามหลักไตรสิกขา
ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดอยู่ในระดับมาก
ได้แก่
ด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบตามหลักไตรสิกขา

๒) ระดับความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการจัดการความรู้ตามหลักไตรสิกขา
ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา, ตำแหน่ง, และประสบการณ์ในการทำงานของบุคลากร
มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓) เสนอแนวทางในการจัดการความรู้ตามหลักไตรสิกขาของผู้บริหารโรงเรียน
พระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า (๑) ด้านการกำหนดความรู้ตามหลักไตรสิกขา
บุคลากรควรให้แต่ละฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมความคิดเพิ่มความละเอียดรอบคอบในการแก้ไขปัญหาต่างๆ มีการกำหนดความรู้ที่จำเป็นต่องานที่ปฏิบัติและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์
ของนโยบายโรงเรียนโดยใช้หลักไตรสิกขา
(๒) ด้านการแสวงหาความรู้ตามหลักไตรสิกขาบุคลากร
ควรแสวงหาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับหลักไตรสิกขา โดยพิจารณาบทบาทในการส่งเสริมจริยธรรม
และการพัฒนาทางด้านจิตใจมีการกำหนดนโยบายให้ผู้สอนตั้งใจสอน  แสวงหาแนวทางในการสอน
เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน (๓) ด้านการจัดการความรู้ให้ระบบตามหลักไตรสิกขา บุคลารกควรมีการปรับกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับกระบวนการจัดการความรู้ มีการกำหนดความรู้
ที่สร้างขึ้นหรือที่ได้มาทำการจัดเก็บด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อเป็นพื้นฐานของการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ (๔) ด้านการกลั่นกรองความรู้ตามหลักไตรสิกขาผู้บริหารส่งเสริมและอบรมบุคลากรให้รู้จักการรวบรวมและจัดเก็บเอกสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนให้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการนำไปใช้เพื่อการเรียนรู้ของประชากรในโรงเรียนเอง (๕) ด้านการเข้าถึงความรู้ตามหลักไตรสิกขานั้น
ผู้บริหารควรมีนโยบายจัดหา และจัดสร้างสื่อและอุปกรณ์พัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เอื้อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน (๖) ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ตามหลักไตรสิกขาควรมีการสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นร่วมกันโดยอยู่บนพื้นฐานของการยอมรับเหตุผลของกันและกัน (๗) ด้านการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
โดยไม่ปล่อยให้ผ่านไปโดยไม่ได้มุ่งหวังอะไรโดยเปล่าประโยชน์กล่าวคือศึกษาจากองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕