หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุทัศน์ กตสาโร (ประทุมแก้ว)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง
การศึกษาพุทธจริยธรรมกับการสื่อสารทางการเมือง
ชื่อผู้วิจัย : พระสุทัศน์ กตสาโร (ประทุมแก้ว) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ (ละลง)
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๓ กันยายน ๒๕๕๖
 
บทคัดย่อ

สารนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการสื่อสารทางเมือง ๒) เพื่อวิเคราะห์พุทธจริยธรรมกับการสื่อสารทางการเมือง  ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเชิงเอกสาร โดยศึกษาข้อมูลจากพระไตรปิฎก เอกสาร ตำรา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และหนังสือที่รวบรวมเกี่ยวกับหลักของการปฏิบัติ และงานเขียนต่าง ๆ มาวิเคราะห์เพื่อให้ได้เนื้อหาสอดคล้องตามลำดับของงานวิจัย

      ผลจากการวิจัยพบว่า 

      หลักการของการสื่อสารทางการเมืองประกอบด้วย การถ่ายทอดข้อมูลและข่าวสารทางการเมืองหรือแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูลอันเกี่ยวกับการเมืองโดยตรง ระหว่างสมาชิกในระบบการเมือง ทั้งในแง่ของปัจเจกบุคคล และคณะบุคคลกับรัฐบาล ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งการสื่อสารระหว่างสถาบันการเมืองต่างๆ เช่น รัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร์ พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆกับประชาชน การสื่อสารระหว่างนักการเมืองกับประชาชน และระหว่างนักการเมืองกับสถานบันทางการเมืองไปยังส่วนอื่นๆ ของระบบการเมือง  ดังนั้น  หลักการสื่อสารทางการเมืองในภาวะวิกฤตจึงเป็นที่จะต้องนำเสนอข้อมูลที่ทำให้คู่กรณีหรือคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียเกิดความไว้วางใจโดยอาศัยวิธีการเต็มไปด้วยความเมตตากรุณา อันจะทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมี สะพาน หรือมีแนวทางในการหาทางออกสำหรับความขัดแย้งระหว่างคู่กรณี โดยการสื่อสารนั้นจะต้องไม่ดำรงอยู่บนฐานของผลประโยชน์ที่ตนจะพึงได้โดยไม่สนใจความเป็นไปของสังคมแต่ประการใด ด้วยเหตุผลที่มุ่งประโยชน์ส่วนตนในลักษณะดังกล่าวนี้ อาจจะนำไปสู่การสร้างความแตกแยกของคนในสังคมที่รับสาร

 

       พุทธจริยธรรมในการสื่อสาร จากหลักคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่ว่าด้วยการสื่อสารในด้านกระบวนการสื่อสาร หลักการพูด การฟัง การเลือกเชื่อ การวิเคราะห์บุคคล ล้วนเป็นหลักการที่ล้ำลึกที่สร้างสรรค์ให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ หลักคำสั่งสอนว่าด้วยการสื่อสารของพระพุทธองค์ยังครอบคลุมถึงหลักจรรยาบรรณ และจริยธรรมของการสื่อสารอีกด้วย สังคมไทยได้นำหลักจริยธรรมการสื่อสารตามแนวพุทธศาสนานี้มาใช้ การสื่อสารทางการเมืองก็จะเป็นหลักการสื่อสารที่ช่วยให้บุคคลมีความสุข มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และเป็นหลักการสื่อสารที่ช่วยให้สังคมทุกระดับทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ระดับครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ หรือแม้กระทั้งในระดับสากล คือ สังคมโลกทั้งหมดได้คงไว้ซึ่งสันติสุข ปราศจากอคติ ความแตกแยก ความขัดแย้งได้อย่างแท้จริงอีกด้วย

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕