หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาประกาศิต สิริเมโธ(ฐิติปสิทธิกร)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
ปราชญ์ป่า : กระบวนการสร้างจิตสำนึกร่วมในการจัดการป่าชุมชนต้นแบบเขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน (สาขาวิชาการพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาประกาศิต สิริเมโธ(ฐิติปสิทธิกร) ข้อมูลวันที่ : ๒๗/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วิวัฒน์ หามนตรี
  เดชา กัปโก
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑)ศึกษารูปแบบการจัดการป่าชุมชนต้นแบบเขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน  ๒)ศึกษาบทบาทของปราชญ์ป่าในการสร้างจิตสำนึกร่วมในการจัดการป่าชุมชนต้นแบบเขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน  ๓)นำเสนอกระบวนการสร้างจิตสำนึกร่วมในการจัดการป่าชุมชนต้นแบบเขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนบนของปราชญ์ป่า กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน ๔๐ รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ ๑๖ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนาความ

             ผลการวิจัยพบว่า 

             . รูปแบบการจัดการป่าชุมชนต้นแบบเขตลุ่มแม่น้ำมูลตอนบน สรุปได้ ๒ รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการจัดการที่เรียกว่า “แบบเดิม” คือ การจัดการอนุรักษ์ พิทักษ์ป่าชุมชนที่ดำเนินการด้วยองค์ความรู้ ภูมิปัญญา ความเชื่อ ความศรัทธา กฎกติกาที่สืบทอดกันมาเป็นประเพณีตั้งแต่อดีต เช่น การเซ็นไหว้ผีปู่ตา การเซ็นไหว้ผีป่า ส่งผลให้เกิดการพิทักษ์รักษาพื้นที่ป่าชุมชนสืบทอดต่อมาได้ และรูปแบบการจัดการที่เรียกว่า “แบบใหม่” คือ การจัดการอนุรักษา พิทักษ์ป่าชุมชนที่มีหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมป่าไม้ เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามาเป็นเจ้าของและจัดการป่าชุมชนด้วยตนเองและทำงานร่วมกัน โดยภาครัฐจะเป็นผู้กำกับดูแลการจัดการให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ และมีการนำหลักคิดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการจัดการป่าชุมชนเพื่อให้เกิดความยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ เช่น การปลูกป่าในใจคน, การปลูกป่า ๓ อย่าง ให้ประโยชน์ ๔ อย่าง,  อีกทั้งมีการต่อยอดพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทำให้เกิดการอนุรักษ์ในเชิงพื้นที่จนประสบความสำเร็จอย่างชัดเจน นำไปสู่การขยายเป็นเครือข่ายป่าชุมชนและร่วมขับเคลื่อนให้เกิด พรบ.ป่าชุมชน เพื่อให้เกิดการทำงานที่เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕