หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาทองสุข ปญฺญาวณฺโณ (พรหมมีเดช)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๗ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญของการใช้อุปมาเพื่อสื่อธรรมที่ปรากฏ ในคัมภีร์โอปัมมวรรค
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาทองสุข ปญฺญาวณฺโณ (พรหมมีเดช) ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม
  สมิทธิพล เนตรนิมิตร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์เรื่อง “การศึกษาวิเคราะห์ความสำคัญของการใช้อุปมาเพื่อสื่อธรรมที่ปรากฏ             ในคัมภีร์โอปัมมวรรค” มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาลักษณะของอุปมา                 ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาสาระธรรมจากอุปมาในคัมภีร์โอปัมมวรรค และ               ๓) เพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของอุปมา ในโอปัมมวรรค การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร ผู้วิจัยมุ่งศึกษา วิเคาระห์ข้อมูล เกี่ยวกับอุปมาตามที่ปรากฏ ในโอปัมมวรรค ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง       ด้วยอุปมาเป็นหลัก

 

             จากการศึกษาพบว่า อุปมา คือการใช้ภาษาสำนวนโวหาร ข้ออ้างใช้นำมาเปรียบเทียบ อุปมา  เเปลว่า คำพูดอันเป็นเครื่องเปรียบเทียบ หรือการเปรียบเทียบ หมายถึง การนำเอาสิ่งใด     สิ่งหนึ่ง มาเปรียบเทียบกันเพื่อชักนำให้ผู้อ่าน หรือผู้ฟังคล้อยตาม เหตุผลที่ต้องการจะสื่อ         เพื่อให้กระบวนการอธิบายความหมาย มีความเเจ้มชัดเข้าใจได้มากขึ้น เเบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ การใช้อุปมาโดยบุคคลาธิษฐานเเละธรรมาธิษฐาน บุคคลาธิฐาน คือ มีบุคคลเป็นที่ตั้ง เเสดงธรรม   โดยยกบุคคลขึ้นอ้าง ซึ่งมาคู่กับธรรมาธิฐาน คือ มีธรรมเป็นที่ตั้ง คือเทศนายกธรรมขึ้นเเสดง เช่น ศรัทธา ศีล คืออย่างนี้ ธรรมที่ประพฤติดีเเล้วย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้เป็นต้น เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา ปฏิบัติ เเละพัฒนาชีวิตมากขึ้น

 

          การใช้อุปมาเป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจได้ชัดเจนแจ่มแจ้ง อีกทั้งยังทำให้ข้อความสละสลวยยิ่งขึ้น ช่วยให้ผู้ฟังเกิดความประทับใจในอุปมาที่ยกขึ้นมาเปรียบ โดยนำสิ่งที่เป็นรูปธรรม                มาเปรียบเทียบกับนามธรรม หรือนามธรรมกับนามธรรม ทำให้ผู้ฟังได้สาระธรรมจากอุปมานั้นคือ การสอนให้เกิดสติ ละอกุศล ความชั่ว เพิ่มพูนกุศล ความดี มีเมตตาจิตระงับความโกรธ มีความอดทนต่อถ้อยคำไม่เปล่งวาจาชั่ว ไม่โกรธต่อถ้อยคำที่มากระทบ เห็นโทษของกาม ที่เสพเท่าไรก็ไม่มีทางอิ่ม ให้ความยินดีเพียงเล็กน้อย ยิ่งเสพก็ยิ่งกระหาย เข้าใจถึงการเรียนที่ถูกวิธีได้รับประโยชน์ต่อการศึกษา ละเว้นการเรียนรู้ที่ผิดทาง จุดหมายของธรรมเพื่อสลัดออกจากทุกข์มิใช่เพื่อยึดถือ จุดหมายของการปฏิบัติคือ อนุปาทาปรินิพพาน วิปัสสนาปัญญาเเละอริยมรรค เเละเเก่นเเท้ของพระศาสนา    


 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕