หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาวันดี กนฺตวีโร (ปะวะเส)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๖ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์อภิปรัชญาในคัมภีร์ภควัทคีตา
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาวันดี กนฺตวีโร (ปะวะเส) ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๑๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  จรัส ลีกา
  สุวิน ทองปั้น
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาประวัติและบริบทของคัมภีร์ภควัทคีตา ๒) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีอภิปรัชญาในคัมภีร์ภควัทคีตา ๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์อภิปรัชญาในคัมภีร์ภควัทคีตา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary research) โดยการเก็บข้อมูลจากเอกสารปฐมภูมิ และทุติยภูมิ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการพรรณนาตามหลักอุปนัยวิธีโดยยึดวัตถุประสงค์เป็นแนว

ผลการวิจัยพบว่า

             ๑. คัมภีร์ภควัทคีตา เป็นส่วนหนึ่งของมหากาพย์ภารตะอยู่ในบรรพที่ ๖ เป็นการรบระหว่างฝ่ายปาณฑพกับฝ่ายเการพ ที่เป็นพี่น้องร่วมสายเลือดเดียวกันเพื่อเป็นการแย่งชิงความเป็นใหญ่ เป็นการสนทนาระหว่างพระกฤษณะกับอรชุน โดยที่อรชุนเป็นผู้ถาม ส่วนพระกฤษณะเป็นผู้ตอบในการรบที่ทุ่งกรุเกษตร การรบดำเนินไปอย่างดุเดือดติดต่อกันถึง ๑๘ วัน เสียกำลังพลไปจำนวนมากแล้วในที่สุดฝ่ายธรรมคือ ตระกูลปาณฑพเป็นฝ่ายชนะ

    ๒. อภิปรัชญาในคัมภีร์ภควัทคีตาประกอบด้วย ความจริงเกี่ยวกับ พรหมัน พระเจ้า กรรม สังสารวัฏ การเกิดใหม่ และการบรรลุโมกษะ ในความจริงทั้งหมดนั้นสามารถเข้าถึงได้ด้วยวิถีทาง ๓ อย่าง ประกอบด้วย ๑) วิถีทางแห่งปัญญา (ชฺญานมารฺค) ๒) วิถีทางแห่งการกระทำ (กรฺมมารฺค) และ๓) วิถีทางความภักดีเชื่อมั่น (ภกฺติมารฺค) ในวิถีทั้ง ๓ มีการเน้นหนักไปที่วิถีทางความภักดีเชื่อมั่น        (ภกฺติมารฺค) มากกว่าวิถีทางอื่นๆ

    ๓. อภิปรัชญาในคัมภีร์ภควัทคีตาเมื่อสังเคราะห์แล้วสามารถสรุปลงในทฤษฎีอภิปรัชญาทั้ง ๓ คือ ๑) อภิปรัชญาในคัมภีร์ภควัทคีตาตามทฤษฎีจิตนิยม ๒) อภิปรัชญาในคัมภีร์ภควัทคีตาตามทฤษฎีสสารนิยม และ ๓) อภิปรัชญาในคัมภีร์ภควัทคีตาตามทฤษฏีธรรมชาตินิยม

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕