หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » น.ส. กานต์สินี จันทร์วิภาดิลก
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๒ ครั้ง
การศึกษาวิเคราะห์ระบบวิธีคิดเพื่อการดำเนินชีวิตตามแนวพุทธศาสน์(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : น.ส. กานต์สินี จันทร์วิภาดิลก ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อาจารย์รังษี สุทนต์
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
วันสำเร็จการศึกษา : ๔ เมษายน ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

 การศึกษาวิเคราะห์ระบบวิธีคิดเพื่อการดำเนินชีวิตตามแนวพุทธศาสน์ ผู้วิจัยได้ตั้ง

วัตถุประสงค์ในการทำวิจัยไว้ ๓ ประการ คือ ๑) ศึกษาวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการตามแนว
พระพุทธศาสนา ๒) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และสาระสำคัญตามแนวคิดของนักวิชาการ
ตะวันตกและนักวิชาการไทย ๓) ศึกษากระบวนการบูรณาการและเสนอแนวทางการ
ประยุกต์วิธีคิดที่ได้จากการบูรณาการเพื่อการดำเนินชีวิต
     ผลการวิจัยพบว่า โยนิโสมนสิการเป็นวิธีคิดที่มีกล่าวเฉพาะในพระพุทธศาสนาและเป็นวิธีคิดที่ทำให้เกิดสภาวะรู้จริง รู้แจ้งและให้ผลเป็นความเห็นถูก(สัมมาทิฏฐิ) หรือปัญญาในระดับต่างๆ บทบาทสำคัญของโยนิโสมนสิการ คือ ทำหน้าที่เชื่อมต่อหลักธรรมกับการนำหลักธรรมไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือในอีกมุมหนึ่ง โยนิโสมนสิการเป็นกลไกสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการรับรู้ กระบวนการคิด และ
กระบวนการนำหลักธรรมสู่ภาคปฏิบัติการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการวิธีคิดของนักวิชาการตะวันตกและ
นักวิชาการไทย พบว่า มีรากฐานมาจากแนวคิดเชิงปรัชญาและจิตวิทยา รูปแบบของวิธีคิดที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบันล้วนแต่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งในการดำเนินชีวิต การทำธุรกิจ การบริหารจัดการ งานการเเมือง เศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น และที่สำคัญประโยชน์ที่ได้รับจะต้องสามารถวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม ในรูปของผลผลิต รายได้หรือประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ แนวคิดทั้งของนักวิชาการตะวันตกและนักวิชาการไทยกับวิธีคิดแบบพุทธ มีส่วนคล้ายคลึงที่สำคัญ คือ แนวคิดเรื่องระบบการมองโลกหรือระบบความคิดแบบเดิมเป็นตัวทำให้เกิดปัญหา การสร้างระบบการมองโลก ระบบความคิดใหม่อย่าง
เป็นระบบและถูกทาง จะช่วยให้ชีวิตประสบความสำเร็จ และมีความสุขยิ่งขึ้นการศึกษากระบวนการบูรณาการและการประยุกต์ วิธีคิดของนักวิชาการตะวันตกและนักวิชาการไทยกับวิธีคิดแบบพุทธ จะได้รูปแบบวิธีคิดใหม่ ที่เรียกว่า “ระบบวิธีคิดแยบคาย” กับ บันได ๔ ขั้น ประกอบด้วย ๑) เข้าใจหัวใจตนเอง ๒) เข้าใจหัวใจผู้อื่น ๓) เข้าใจหัวใจกันและกัน ๔) เข้าถึงหัวใจสัจธรรม และได้เทคนิคการประยุกต์ใช้ ๔ แบบ คือ ๑)
การหลุดจากกรอบความคิดเดิม ๒) การสร้างกรอบความคิดใหม่ ๓) การหมั่นฝึกฝนจนกลายเป็นอุปนิสัย ๔) การประเมินผลอย่างไรก็ตาม ผู้สนใจใฝ่ธรรมจะต้องให้ความสำคัญกับการนำหลักธรรมสู่ภาคปฏิบัติหรือการนำหลักธรรมไปใช้ เพราะสิ่งนี้คือหัวใจสำคัญของการศึกษาหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ดังนั้น แนวทางการศึกษาที่น่าสนใจต่อไปจึงยังคงอยู่บนพื้นฐานของการประยุกต์หลักธรรมเพื่อนำสู่การดำเนินชีวิต เช่น การศึกษาบทบาทของโยนิโสมนสิการเพื่อการบริหารจัดการ, เพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างโยนิโสมนสิการในเด็กกลุ่มต่างๆ เช่น เด็กปฐมวัย เด็กประถม เด็กวัยรุ่น และเพื่อการบรรลุธรรม การศึกษาเหล่านี้ล้วนแล้วแต่จะ
ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมในสังคมไทยในยุคปัจจุบัน

Download : 255183.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕