หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระธวัชชัย ถาวโร (กันยา)
 
เข้าชม : ๑๙๙๖๙ ครั้ง
การบริหารตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๒(การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระธวัชชัย ถาวโร (กันยา) ข้อมูลวันที่ : ๐๔/๐๔/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ธีระศักดิ์ บึงมุม
  พระครูสโมธานเขตคณารักษ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารตามหลักพรหมวิหาร ๔  ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๒ ๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารตามหลักพรหมวิหาร ๔  ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๒ จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะการบริหารตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต ๒ การวิจัยวิธีวิทยาแบบผสม๑) การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาสังกัดสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  จังหวัดขอนแก่นจำนวน ๓๕๕ คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่างในแต่ละกลุ่มโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจับสลากเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ .๖๘ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และด้วยการทดสอบค่าที (t–test แบบ Independent sample) ช้ทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (F-test แบบ One-way ANOVA)และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของเซฟเฟ่ (Scheffe’ method) ๒) การวิจัยเชิงคุณภาพกลุ่มเป้าหมายได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน ๖ คน และครูผู้สอนจำนวน ๖ คน รวมทั้งสิ้น จำนวน ๑๒ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ และใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและหาข้อสรุป

             ผลการวิจัยพบว่า:

             ๑. การบริหารตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากเรียงจากมากไปหาน้อยดังนี้ด้านการบริหารตามหลักมุทิตาด้านการบริหารตามหลักกรุณาด้านการบริหารตามหลักอุเบกขาด้านการบริหารตามหลักเมตตาตามลำดับ

             ๒. การเปรียบเทียบการบริหารตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

          ๓. ข้อเสนอแนะในการส่งเสริมพัฒนาการบริหารตามหลักพรหมวิหาร ๔ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้ ๑) ด้านการบริหารตามหลักเมตตา ควรมีการพัฒนาหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับบริบทของตนเอง มีการพัฒนาบุคลากรให้มีใจรักในสายวิชาการ ๒) ด้านการบริหารตามหลักกรุณา ควรมีการพิจารณา ไตร่ตรองในการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า ตลอดจนมีการศึกษาดูงานสถานศึกษาที่ประสบความสำเร็จ มีการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยมกับหน่วยงานอื่นๆ และควรมีแหล่งทุนในการสนับสนุนสถานศึกษา ๓) ด้านการบริหารตามหลักมุทิตา ควรมีการพิจารณาความสามารถของบุคลากรและมอบหมายงานตามความถนัด มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพลังด้านบวกให้กับบุคลากร  และควรสร้างขวัญและกำลังใจให้มีสวัสดิการแก่ครูบุคลากรและจัดค่าตอบแทนให้เหมาะสม และ ๔) ด้านการบริหารตามหลักอุเบกขาควรอาศัยความพอใจ ขยันหมั่นเพียรในหน้าที่ความรับผิดชอบ มีการพิจารณาใคร่ครวญอย่างละเอียดรอบคอบในการดำเนินงาน และมีการจัดบุคลากรให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕