หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวศิริกาญจน์ ทัศนีย์ไตรเทพ
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๔ ครั้ง
การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องฆาตกรกับการบรรลุเป็นพระอรหันต์ : ศึกษาเฉพาะกรณีพระองคุลิมาลเถระ(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวศิริกาญจน์ ทัศนีย์ไตรเทพ ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร
  ศ.พิเศษ จำนงค์ ทองประเสริฐ
  นายรังษี สุทนต์
วันสำเร็จการศึกษา : ๒ / เมษายน / ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องฆาตกรกับการบรรลุเป็นพระอรหันต์ :

ศึกษาเฉพาะกรณีพระองคุลิมาลเถระ โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) ศึกษาประวัติของพระองคุลิมาลเถระในอดีตและปัจจุบัน (๒) ศึกษาแนวคิดกี่ยวกับเรื่องฆาตกรและปัจจัยมีผลให้ฆาตกรบรรลุเป็นพระอรหันต์ (๓) ศึกษาวิเคราะห์ฆาตกรองคุลิมาลกับการบรรลุเป็นพระอรหันต์เพื่อปรับใช้ในสังคมไทยปัจจุบัน
    ผลการวิจัยพบว่า พระองคุลิมาลเถระเคยเกิดเป็นฆาตกรอย่างน้อย ๔ ชาติ และได้
พระโพธิสัตว์เป็นกัลยาณมิตรแนะนำสั่งสอน จึงเลิกเป็นฆาตกร ตั้งใจสมาทานศีล ๕ และบำเพ็ญบารมีเป็นอันมาก ในชาติสุดท้ายเกิดเป็นฆาตกรองคุลิมาล พระพุทธเจ้าทรงเป็นกัลยาณมิตรแสดงธรรมให้ฟัง จึงได้บรรลุโสดาปัตติผล จากนั้นก็ได้อุปสมบทและปฏิบัติธรรมด้วยความเพียรแรงกล้าจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ซึ่งสาเหตุที่ฆาตกรองคุลิมาลสามารถบรรลุเป็นพระอรหันต์นั้น สรุปได้ ดังนี้องคุลิมาลไม่มีสันดานเป็นฆาตกร แม้ฆ่ามนุษย์จำนวนมากแต่ก็ทำด้วยความจำใจไม่ได้กระทำอนันตริยกรรมและภิกษุณีทูสกกรรม ซึ่งเป็นกรรมที่มีโทษหนักห้ามบรรลุมรรคผลนิพพาน นอกจากนี้ท่านได้สร้างบารมีถวายทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา มีพระโพธิสัตว์เป็นกัลยาณมิตรคอยสั่งสอน ใช้โยนิโสมนสิการในการศึกษาและปฏิบัติธรรมตามหลักไตรสิกขา คือศีล สมาธิปัญญา โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และภาวนา ๒ อย่าง คือ (๑) สมถภาวนา คือการฝึกอบรมหรือพัฒนาจิตให้สงบ โดยใช้อารมณ์เป็นเครื่องยึด (๒) วิปัสสนาภาวนา คือ การฝึกอบรมหรือพัฒนาจิตให้เห็นแจ้ง พิจารณาสังขารทั้งหลายโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์ จนสามารถตัดผลแห่งกรรมชั่วได้ด้วยอรหัตตมรรคบรรลุเป็นพระอรหันตชีวิตของพระองคุลิมาลเถระถือว่าเป็นตัวอย่างของฆาตกร หรือผู้เคยกระทำความผิดที่ดำเนินชีวิตผิดพลาดในปัจจุบัน เพราะถ้ามีจิตสำนึกก็สามารถพัฒนาตนได้ด้วยการศึกษาและปฏิบัติธรรม เพื่อขัดเขลาพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนนิสัย แก้ไขพฤติกรรมในทางกาย วาจา ใจและปัญญา จนตั้งอยู่ในคุณธรรมชั้นสูงสุด หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้

Download : 255177.pdf

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕