หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระปลัดสมยศ เมตฺตาสโย (อุระชื่น)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๗ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักธรรมสำหรับบุพการีบุคคลให้เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของบุตรตามหลักพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : พระปลัดสมยศ เมตฺตาสโย (อุระชื่น) ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ชัยชาญ ศรีหานู
  พระเทพสุวรรณเมธี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2561
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ๑)เพื่อศึกษาบุพการีบุคคลในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาคุณธรรมสำหรับบุพการีบุคคลในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท๓) เพื่อศึกษาประยุกต์ใช้หลักธรรมสำหรับบุพการีบุคคลให้เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของบุตรตามหลักพระพุทธศาสนาการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฏก อรรถกถาและคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนารวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากนั้นนำมาเรียบเรียง พรรณนาตรวสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลของการศึกษพบว่า

              บุพการีในพระพุทธศาสนาหมายถึงผู้ทำอุปการคุณก่อน ได้แก่มารดาและบิดา และผู้ประพฤติหลักพรหมวิหาร ๔ บุพพการีเป็นผู้หาได้ยากเพราะไม่ถูกตัณหาครอบงำเช่นคนทั่วไปมารดาบิดาคือ พรหมเพราะให้ชีวิต เป็นพระอรหันต์เพราะมีความรักบริสุทธิ์เป็นครูคนแรกเพราะสอนให้รู เป็นเทวดาเพราะคอยปกปักรักษาทุกเมื่อ และเป็นทักขิเณยยะเพราะคารพบูชาแล้วได้บุญกุศลเป็นอย่างยิ่งตัวอย่างของบุคคลที่เป็นบุพการีในฐานะมารดาบิดาต้นแบบ ไดแก อุบาสิกาวิสาขาอนาถบิณฑิกเศรษฐี และจิตตคหบดี

            หลักธรรมของบุพพการีคือ ทิศ ๖ พรหมวิหาร ๔ สังคหวัตถุ ๔ ฆราวาสธรรม ๔ หลักธรรมดังกล่าวช่วยสนับสนุนให้บุพพการีบุคคลมีความบริบูรณ์และเป็นผู้ดำรงตนเป็นตัวอย่างของสมาชิกในครอบครัว หลักทิศ ๖ ช่วยให้ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง หลักพรหมวิหาร ๔ เป็นการพัฒนาจิตให้เจริญยิ่งขึ้นเพื่อความบริสุทธิ์ของจิตซึ่งอาศัยการพัฒนาจิตใจความรักเมตตาของบิดามารดาที่อยู่แล้วเป็นฐานเจริญสมาธิและปัญญาเพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์ ส่วนหลักสังควัตถุและฆราวาสธรรมช่วยให้การดำเนินชีวิตประจำวันเอื้อให้เกิดกุศลจิตและมีคุณธรรมตลอดเวลาซึ่งเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคม

            ในการประยุกต์หลักธรรม บุพพการีบุคคลต้องนำหลักธรรมคือ หลักทิศ ๖ พรหมวิหารเป็นต้น มาประพฤติในชีวิตประจำวันตามโอกาสต่าง ๆ โดยพิจารณาถึงการสร้างครอบครัวที่ดี มีความมั่นคงทางศีลธรรมในท่ามกลางสังคมที่ศีลธรรมอ่อนแอในปัจจุบัน คือ ๑)เป็นแบบอย่างที่ดีแกบุตร ๒)บิดามารดามีความรักสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ๓) ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีเช่น บุพพการีพึงอุปการะเลี้ยงดูบุตรให้การศึกษา แนะนำในกุศลธรรม เป็นต้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕