หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาคำพันธ์ ปภากโร (ภาคสิม)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๐ ครั้ง
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอนวิชาพระอภิธรรมปิฎกของนิสิตคณะพุทธศาสตร์ ชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาคำพันธ์ ปภากโร (ภาคสิม) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสมุห์เฉวียน กตปุญฺโญ
  พระครูธรรมธรศิริวัฒน์ สิริวฑฺฒโน
  เรืองเดช เขจรศาสตร์
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอนวิชาพระอภิธรรมปิฎกของนิสิตชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี  ๒) เพื่อศึกษาการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอนวิชาพระอภิธรรมปิฎกของนิสิตชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี  ๓) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอนวิชาพระอภิธรรมปิฎก ก่อนเรียนและหลังเรียน ของนิสิตชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี และ ๔) เพื่อประเมินผลคุณภาพการสอนของอาจารย์ผู้สอนรายวิชาพระอภิธรรมปิฎก โดยนิสิตคณะพุทธศาสตร์ ชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี 

 

          กลุ่มตัวอย่าง เป็นนิสิตชั้นปีที่ ๑ คุณพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี ภาคการศึกษาที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ จำนวน ๔๓ รูป ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม ( Cluster Random Sampling) วิธีการวิจัยใช้การออกแบบลักษณะร่วมมือ (collaborative research) คือให้เป็นไปตามสภาพปกติ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินผลการจัด การศึกษาเพื่อปรับปรุงคุณภาพการสอนที่เป็นมาตรวัดลิเคิร์ท ๕ ระดับ ใช้สถิติพื้นฐานและ ทดสอบค่าที (pair t-test) วิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า

 

           ๑) ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอนวิชาพระอภิธรรมปิฎก ของนิสิตคณะพุทธศาสตร์      ชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี  พบว่า คะแนนเฉลี่ยของนิสิตจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนรายวิชาอภิธรรมปิฎก เท่ากับ ๑๖.๖๐ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๒.๗๙ จากคะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๕๕.๓๕ และคะแนนเฉลี่ยของนิสิตจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนรายวิชาอภิธรรมปิฎก เท่ากับ ๒๔.๖๕  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๒.๑๔ จากคะแนนเต็ม ๓๐ คะแนน คิดเป็นร้อยละ ๘๒.๑๗

 

๒) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอนวิชาพระอภิธรรมปิฎก ของนิสิตคณะพุทธศาสตร์ ชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี  ดีขึ้นด้วยค่าคะแนน  ๘.๐๒ คะแนน  โดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ ของคะแนนเต็มเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๙๖ค่าคะแนน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเฉลี่ย ๒๔.๖๕คะแนน  ซึ่งสูงกว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเฉลี่ย ๑๖.๖๐ คะแนน  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน แสดงให้เห็นว่าคะแนนมีการกระจายลดลง 

 

           ๓) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอนวิชาพระอภิธรรมปิฎก ของนิสิตคณะพุทธศาสตร์ ชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี  ก่อนและหลังการเรียนรายวิชาพระอภิธรรมปิฎก พบว่า หลังการเรียนรายวิชาอภิธรรมปิฎก มีค่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตสูงกว่า ก่อนเรียน โดยผลการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจากที่เรียน ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานวิจัยที่ตั้งไว้

           ๔) การประเมินผลคุณภาพการสอนของอาจารย์ผู้สอนรายวิชาพระอภิธรรมปิฎก โดยนิสิตคณะพุทธศาสตร์ ชั้นปีที่ ๑ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี  โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ๔.๓๕  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ๐.๔๑ เมื่อพิจารณารายข้อ  พบว่า การประเมินผลคุณภาพการสอนอยู่ในระดับมากที่สุดหนึ่งข้อ  นอกนั้นอยู่ในระดับมากทุกข้อ

 

           โดยมีการประเมินผลระดับมากที่สุดหนึ่งอันดับ ได้แก่  มีตำรา เอกสาร ประกอบการสอนที่สอดคล้องกับเนื้อหา

          ประเมินผลระดับมากห้าอันดับแรก ได้แก่ สรุปบทเรียน เนื้อหาได้ถูกต้อง และง่ายต่อการเข้าใจ สื่อความหมายได้ชัดเจนให้นิสิตเข้าใจ บรรลุวัตถุประสงค์ มีการวัดผลและประเมินผลที่เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา มีการวัดผลและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และวิธีการนำเข้าสู่บทเรียนน่าสนใจ

 

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕