หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูอุดมรัตนรังษี (บรรจบ วรปญฺโญ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๔ ครั้ง
การศึกษาหลักธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสานเรื่องท้าวก่ำกาดำ
ชื่อผู้วิจัย : พระครูอุดมรัตนรังษี (บรรจบ วรปญฺโญ) ข้อมูลวันที่ : ๑๗/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราเชนทร์ วิสารโท
  บุญส่ง สินธุ์นอก
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ คือ (๑) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องวรรณกรรมอีสานเรื่องก่ำกาดำ (๒) เพื่อศึกษาหลักธรรมและคติธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสานเรื่องก่ำกาดำ (๓) เพื่อศึกษาอิทธิพลของหลักธรรมและคติธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสานเรื่องท้าวก่ำกาดำ ที่มีต่อวิถีชีวิตของชาวอีสาน  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร

ผลการวิจัยพบว่า  ชาวอีสานมีวัฒนธรรมที่ได้รับการสืบทอดมานานโดยเฉพาะวัฒนธรรมเรื่องการสอนหรือการถ่ายทอดวัฒนธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาและคำสอนอื่นๆ แก่ผู้คนในสังคม นิทานพื้นบ้านหรือวรรณกรรมท้องถิ่นถือว่าเป็นอีกสื่อการสอนหนึ่งของชาวอีสานที่จะนำมาเป็นช่องทางในการถ่ายทอดวัฒนธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาแก่สังคมผ่านกระบวนการการเล่านิทาน ผ่านการเทศน์ หรือผ่านศิลปะบันเทิงต่างๆ เป็นต้น

วรรณกรรมอีสานเรื่องก่ำกาดำถือว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจและถูกนำมาใช้เป็นสื่อในการสอนธรรมของชาวพุทธในภาคอีสาน ก่ำกาดำเป็นนิทานชาดกพื้นบ้านเป็นนิทานที่เกิดมาจากการนำเอาเรื่องเล่าของชาวบ้านมาปรับให้เป็นชาดกหรือเรื่องราวของพระพุทธเจ้าในอดีต สำหรับสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น คำสอนเรื่องกรรม เรื่องไตรลักษณ์ เรื่องการรักษาศีลและการทำบุญเป็นต้น นอกจากนั้นยังแทรกคติธรรมคำสอนของปราชญ์ชาวบ้านเข้าไปด้วยซึ่งเป็นคำสอนที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของชาวอีสานในหลายๆ ด้าน เช่น ด้านประเพณี ความเชื่อและจารีตการปฏิบัติในเรื่องอื่นๆ ด้วย

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕