หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วรรวิภา สว่างวัน
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
ศึกษาการให้ทานของชาวพุทธอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อผู้วิจัย : วรรวิภา สว่างวัน ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูปริยัติยานุศาสน์
  วิโรจน์ อินทนนท์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยเรื่อง ศึกษาการให้ทานของชาวพุทธอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องทานของชาวพุทธอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ๒) เพื่อศึกษาการปฏิบัติในการให้ทานของชาวพุทธอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ผลจากการศึกษาวิจัย มีดังนี้

 

ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องทานของชาวพุทธอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในส่วนของชาวพุทธตำบลริมเหนือและชาวพุทธตำบลริมใต้ พบว่า เกี่ยวกับประเภทของการให้ทาน มีความเห็นเหมือนกัน ส่วนใหญ่เห็นว่าให้อามิสทาน (ให้อาหาร สิ่งของ) เกี่ยวกับความสำคัญของทาน มีความเห็นเหมือนกัน ส่วนใหญ่เห็นว่าการให้ธรรมทานมีความสำคัญมากที่สุด เกี่ยวกับเหตุผลในการให้ทาน มีความเห็นเหมือนกัน ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าให้ทานเพราะความศรัทธา เกี่ยวกับประเภทของทานที่มีอานิสงส์มาก มีความเห็นเหมือนกัน ส่วนใหญ่เห็นว่าการให้ทานประเภทสังฆทาน (การให้โดยไม่เจาะจงบุคคล) มีอานิสงส์มาก เกี่ยวกับการให้ทานแก่บุคคลที่ควรให้ มีความเห็นต่างกัน คือ ชาวพุทธตำบลริมเหนือส่วนใหญ่เห็นว่าควรให้แก่พระภิกษุ สามเณร ส่วนชาวพุทธตำบลริมใต้ส่วนใหญ่เห็นว่าให้แก่ประชาชน ยาจก วณิพก เกี่ยวกับการให้ทานเพื่ออุทิศส่วนกุศล มีความเห็นเหมือนกัน ส่วนใหญ่เห็นว่าให้ทานแล้วอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย เกี่ยวกับการอธิษฐานในการให้ทาน มีความเห็นต่างกัน คือ ชาวพุทธตำบลริมเหนือส่วนใหญ่เห็นว่าอธิษฐานให้เข้าถึงพระนิพพาน ส่วนชาวพุทธตำบลริมใต้ส่วนใหญ่เห็นว่าอธิษฐานให้สมความปรารถนา และเกี่ยวกับการทำทาน มีความเห็นเหมือนกัน ส่วนใหญ่เห็นว่าทำทานตามโอกาส

 

การปฏิบัติในการให้ทานของชาวพุทธอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ในส่วนของชาวพุทธตำบลริมเหนือและชาวพุทธตำบลริมใต้ เกี่ยวกับการปฏิบัติในการให้อามิสทานของชาวพุทธตำบล
ริมเหนือและชาวพุทธตำบลริมใต้ พบว่า การให้อามิสทานโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย  เกี่ยวกับ
แรงจูงใจในการให้ทานของชาวพุทธตำบลริมเหนือและชาวพุทธตำบลริมใต้ พบว่า แรงจูงใจในการให้ทาน โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย และเกี่ยวกับลักษณะในการให้ทานของ
ชาวพุทธตำบลริมเหนือ พบว่า ลักษณะในการให้ทานโดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
ส่วนลักษณะในการให้ทานของชาวพุทธตำบลริมใต้ พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง

 

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕