หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวิมลธรรมนิมิต (บัวพันธ์ คำสีทา)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง
ศึกษาความเชื่อและคุณค่าประเพณีบุญข้าวจี่ของชาวตำบลเทพคีรี อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวิมลธรรมนิมิต (บัวพันธ์ คำสีทา) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูอมรธรรมานุสิฐ
  บรรพต แคไธสง
  จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2559
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  คือ (๑)  เพื่อศึกษาความเป็นมาของประเพณีบุญข้าวจี่ของประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  (๒)  เพื่อศึกษาประเพณีบุญข้าวจี่ของชาวตำบลเทพคีรี อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู  และ  (๓)  เพื่อศึกษาความเชื่อและคุณค่าของประเพณีบุญข้าวจี่  ของชาวตำบลเทพคีรี อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู  การวิจัยครั้งนี้  เป็นการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ  เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research)  และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth  Interview)  กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)   แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปผลการวิจัยแล้วนำเสนอผลการศึกษา

ผลการวิจัยพบว่า

             มูลเหตุสำคัญที่ชาวอีสานทำบุญข้าวจี่ในเดือนสาม ก็เพราะเป็นเวลาที่ชาวบ้านหมดภาระในการทำนา  ชาวบ้านได้นำข้าวใหม่ขึ้นยุ้ง ขึ้นฉาง  จึงอยากร่วมกันทำบุญข้าวจี่ถวายพระสงฆ์      ชาวอีสานทราบถึงอานิสงส์ของการทานดังกล่าวจึงพากันทำข้าวจี่ถวายทานแต่พระสงฆ์สืบต่อมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน

    ประวัติความเป็นมาของประเพณีบุญข้าวจี่ของชาวตำบลเทพคีรี  อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู  พบว่า  ตำบลเทพคีรีได้มีการฟื้นฟูประเพณีบุญข้าวจี่   ตามยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรมจารีตประเพณี  และภูมิปัญญาท้องถิ่น  โดยมีการจัดงานประเพณีแบบเป็นระเบียบแบบแผนและจัดงานอย่างต่อเนื่องมาทุกปี  เพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาวอีสาน

             ความเชื่อและคุณค่าของประเพณีบุญข้าวจี่  ที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตชาวอีสานและชาวตำบลเทพคีรี  อำเภอนาวัง  จังหวัดหนองบัวลำภู  มีความเชื่อเรื่องทำบุญว่าการทำบุญเป็นการสะสมคุณงามความดี  ความเชื่ออีกประการหนึ่งการทำบุญข้าวจี่ของชาวเทศบาลตำบลเทพคีรี  มีความเชื่อว่าเป็นถวายข้าวจี่เพื่อบูชาพระพุทธเจ้าซึ่งจะทำในวันมาฆบูชากลางเดือน ๓  ซึ่งเกิดคุณค่าในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านจิตใจ  ด้านความสามัคคีของคนในชุมชน  ด้านวิถีชีวิตของคนในชุมชน ด้านศาสนาและวัฒนธรรม  และด้านเศรษฐกิจ

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕