หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูรัตนญาณโสภิต (บุญเลิศ รตฺนญาโณ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๓ ครั้ง
ศึกษาปฏิปทาในการถือธุดงค์ของพระมหากัสสปเถระ
ชื่อผู้วิจัย : พระครูรัตนญาณโสภิต (บุญเลิศ รตฺนญาโณ) ข้อมูลวันที่ : ๑๔/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระอธิการเวียง กิตฺติวณฺโณ
  พระครูปริยัติวิสุทธิคุณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

              วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาความเป็นมาของธุดงค์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท ๒) เพื่อศึกษาปฏิปทาในการถือธุดงค์ของพระมหากัสสปเถระ ๓) เพื่อวิเคราะห์ธุดงค์ของพระมหากัสสปเถระและการประยุกต์ใช้ ผลการศึกษาพบว่า

              ความเป็นมาของธุดงค์ในพระพุทธศาสนานั้นพบว่า ธุดงค์คือองค์คุณเป็นเครื่องกำจัดกิเลส องค์คุณของผู้กำจัดกิเลส หมายถึง เจตนาความตั้งใจขัดเกลากิเลส เจตจำนงค์ความจงใจที่ทำให้ละกิเลสได้ธุดงค์ เป็นวัตรปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้ แต่ไม่มีการบังคับ แล้วแต่ผู้ใดจะสมัครใจปฏิบัติเป็นอุบายวิธีกำจัดขัดเกลากิเลส ธุดงค์นี้เป็นเพียงจริยาวัตรพิเศษอย่างหนึ่ง ไม่ใช่ข้อบังคับให้ต้องปฏิบัติตามเหมือนวินัย แต่เป็นข้อปฏิบัติที่บัญญัติไว้ตามแต่ใครจะถือปฏิบัติด้วยความสมัครใจ และสำเร็จได้ตามการสมาทานจากการศึกษาผู้วิจัยพบว่าธุดงค์ที่มีมาในพระไตรปิฎกที่จริงแล้วมีเพียง ๘ ข้อเท่านั้นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันว่ามี ๑๓ ข้อเกิดจากการบัญญัติเพิ่มเข้ามาในภายหลังของพระสาวกหรือพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้มีการปฏิบัติกันอยู่แต่ไม่ได้มีการนำเอาไปรวมกับธุดงควัตร ๘ ข้อ จนเวลาผ่านไปหลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าดับขันปรินิพพานแล้วพระสาวกจึงได้นำเอาการปฏิบัติที่มีลักษะใกล้เคียงกับธุดงค์ที่มีอยู่แล้วมาบัญญัติและรวมเข้ากับธุดงค์อีก ๕ ข้อ จึงกลายมาเป็นธุดงค์ ๑๓

 

              ปฏิปทาในการถือธุดงค์ของพระมหากัสสปเถระพบว่าพระมหากัสสปเถระเป็นพระสาวกที่มีบทบาทสำคัญในการจรรโลงพระพุทธศาสนา ท่านเป็นผู้ที่ได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านการสมาทานธุดงค์ ท่านมุ่งมั่นในการสมาทานธุดงค์เป็นวัตรอย่างเคร่งครัดพระมหาหัสสปเถระถือ ธุดงค์ ๓ ข้อ เคร่งครัด ได้แก่ใช้แต่ผ้าบังสุกุลเป็นวัตรถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และถือการอยู่ป่าเป็นวัตร

              จากการวิเคราะห์ปฏิปทาในการถือธุดงค์ของพระมหากัสสปเถระพบว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้ การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการใช้วัตถุสิ่งของอย่างเห็นคุณค่าได้ การถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรสามารถนำมาเป็นแนวทางและประยุกต์ใช้โดยการเป็นผู้เอาใจใส่ในกิจวัตรของพระสงฆ์ การไม่ทอดทิ้งธุระในการบิณฑบาตเพราะการบิณฑบาตเป็นการเผยแผ่พุทธศาสนา การอยู่ป่าเป็นวัตร การอยู่ป่าช่วยส่งเสริมความเป็นผู้ขัดเกลาและความมักน้อย ยินดีในเสนาสนะป่า อันสงบ สงัด เหมาะแก่การปลีกวิเวกนั่นเอง นับได้ว่า การอยู่ป่าของพระมหากัสสปเถระเป็นรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกรูปแบบหนึ่ง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕