หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสมนึก จิตฺตธมฺโม (ตั้งใจ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
การศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดจริยศาสตร์กับการเป็นหนี้ในพุทธปรัชญาเถรวาท (ปรัชญา)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสมนึก จิตฺตธมฺโม (ตั้งใจ) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสังวราภิรักษ์
  -
  สุรพงษ์ คงสัตย์
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๗ / กุมภาพันธ์ / ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้  มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษาทฤษฎีจริยศาสตร์  (๒) เพื่อศึกษาการเป็นหนี้ในพุทธปรัชญาเถรวาท  และ (๓) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดจริยศาสตร์กับการเป็นหนี้ในพุทธปรัชญาเถรวาท ผลการวิจัยพบว่า

ทฤษฎีจริยศาสตร์  หมายถึง พฤติกรรมและ การกระทำทางในสังคมของมนุษย์ อันเป็นวัฒนธรรม ที่มนุษย์จะต้องเรียนรู้และจะต้องมีการถ่ายทอดวัฒนธรรมโดยสอนให้คนรุ่นหลังรู้ถึงระบบสัญลักษณ์ของสังคม จริยศาสตร์ นักปรัชญาได้แบ่งประเภทจริยศาสตร์ ๒ อย่าง คือ  ๑) จริยในเชิงประโยชน์นิยม  ๒) จริยศาสตร์ในเชิงเจตนานิยม และมีองค์ประกอบของจริยศาสตร์ ๓ อย่างคือ  ๑) บุคคลกระทำ  ๒) การกระทำด้านศีลธรรม และ ๓) ผลที่ตามมาของการกระทำ

การเป็นหนี้ในพุทธปรัชญาเถรวาท แบ่งออกเป็น  ๒  ส่วน  คือ  ๑) หนี้ทางธรรม คือเป็นหนี้ที่เกิดตามธรรมชาติที่สรรพสัตว์กระทำต่อกันทั้งทางตรงและทางอ้อม  ๒) หนี้ทางโลก คือเป็นหนี้เกิดจากความพอใจของแต่ล่ะคนที่กู้เงินยืมสินต่าง ๆ จากสถาบันการเงินของรัฐและเอกชนเป็นหนี้ในระบบและนอกระบบ และทางพุทธปรัชญาเถรวาทมีแนวความคิดว่าการเป็นหนี้เป็นทุกข์ที่สุดในโลกเพราะทำให้เกิดกิเลสตัณหาสะสมอยู่ในจิตทำให้เกิดความทุกข์ในการแสวงหาสิ่งต่าง ๆ  มาครอบครองตามความต้องการนั้น ๆ  

จริยศาสตร์ การเป็นหนี้ในพุทธปรัชญาเถรวาทพบว่า การเป็นหนี้ก็เป็นประโยชน์และนำมาซึ่งความสุขในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ถ้าหากว่าบุคคลนั้นบริหารการเงินและการงานอย่างมีระเบียบวินัยในการรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนโดยสมบูรณ์ไม่บกพร่องในหน้าที่ ที่ตนรับผิดชอบการเป็นหนี้ก็เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายเจ้าหนี้ และฝ่ายลูกหนี้ ซึ่งมีความสอดคล้องกับทฤษฎีประโยชน์นิยมที่กล่าวว่า หลักเกณฑ์ที่จะตัดสินการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  ว่าถูกหรือผิด  ดีหรือชั่ว  ชอบหรือไม่ชอบมีประโยชน์ หรือไม่มีประโยชน์  นั้นขึ้นอยู่กับผลที่ได้รับจากการกระทำนั้น

 

แต่ในทางมุมมองทางทฤษฎีเจตนานิยมคือ ความตั้งใจความมุ่งหมายจะทำในสิ่งที่กำหนด ในสิ่งที่ตนชอบ และในสิ่งที่ตนนับถือเป็นการกระทำโดยเจตนา ตามทรรศนะของค้านท์คือ การกระทำที่ถูกคือการกระทำที่เกิดจากเจตนาดี

 

          สำหรับการเป็นหนี้ทางธรรมนั้นเป็นเรื่องของธรรมชาติที่ทุกคนต้องมีอยู่ และโดยเฉพาะการเป็นหนี้บุญคุณต้องตอบแทนคุณพ่อแม่ และสิ่งที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเอง ซึ่งมีความสอดคล้องกับทฤษฎีทั้งสองอยู่แล้ว แต่ในทางพุทธปรัชญาเถรวาทนั้นถือว่าไม่ว่าจะเป็นหนี้แบบใดก็ถือว่าเป็นทุกข์ในโลกดังสุภาษิตที่ว่า อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก คือการกู้หนี้เป็นทุกข์ในโลก

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕