หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » เสาวภา สุดประเสริฐ
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๕ ครั้ง
การใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี (สาขาวิชาชีวิตและความตาย)
ชื่อผู้วิจัย : เสาวภา สุดประเสริฐ ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
  เริงชัย หมื่นชนะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาระดับการใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี ๒) เปรียบเทียบระดับการใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาล สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี ๓) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ต่อการใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี การศึกษาวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน ๒๔๓ คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง โดยการการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๑๕๒ คน เครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม (Questionnaire) สถิติที่ใช้ประกอบด้วยค่าร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย (Mean)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เปรียบเทียบโดยการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA ) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างกันจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่ โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

ผลการศึกษาวิจัยพบว่า

๑) ระดับการใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับจิตบริการกับจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =๓.๘๗, S.D.= ๐.๕๔)  เมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ระดับความคิดเห็นของของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี ด้านจิตตะมีระดับสูงสุด ( =๓.๙๔, S.D.= ๐.๕๒)รองลงมาคือ ด้านวิริยะ ( =๓.๙๐, S.D.= ๐.๕๖) และที่อยู่ในอันดับสุดท้ายคือ ด้านวิมังสา( =๓.๘๐, S.D.= ๐.๕๖)

๒) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับการใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาล สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า

๒.๑ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีเพศแตกต่างกัน มีการใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับจิตบริการ ไม่แตกต่างกัน

๒.๒ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีอายุแตกต่างกัน มีการใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับจิตบริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

๒.๓ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีการใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับจิตบริการ แตกต่างกัน

๒.๔ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรีที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีการใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับจิตบริการแตกต่างกัน โดยการศึกษาระดับปริญญาโทมีการใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับจิตบริการสูงกว่าปริญญาตรีในทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๑

๒.๕ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีการใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับจิตบริการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญในสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ และระดับ ๐.๐๑

๒.๖ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีการใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับจิตบริการแตกต่างกัน

๒.๗ พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีหน่วยงานพยาบาลที่สังกัดแตกต่างกัน มีการใช้การใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับจิตบริการไม่แตกต่างกัน

๓) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ

ปัญหา อุปสรรค ที่มีความสำคัญเป็นลำดับแรกของการใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี ทั้งด้านฉันทะ ด้านวิริยะ ด้านจิตตะ และด้านวิมังสา เป็นเรื่องของภาระงานมาก เกินกว่าอัตรากำลังในการทำงานแต่ละวัน และค่าตอบแทนไม่สมดุล มองว่าวิชาชีพพยาบาล เป็นวิชาชีพที่ถูกมองข้ามความสำคัญ เมื่อปัญหาอุปสรรคต่างๆไม่ได้รับการแก้ไข ทำให้กลุ่มตัวอย่าง ขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน ท้อแท้ เบื่อหน่าย ขาดความรัก ความเอาใจใส่ ความกระตือรือร้น และ ความใคร่ครวญไตร่ตรองในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหา อุปสรรค ต่อการใช้หลักอิทธิบาท ๔ กับจิตบริการของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๗ จังหวัดสุพรรณบุรี ในทุกด้าน

จากปัญหา อุปสรรคดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะในภาพรวม ต้องการให้ผู้บริหารตั้งแต่ระดับประเทศลงมา ตระหนัก และให้ความสำคัญกับพยาบาลวิชาชีพ ที่ทำงานอยู่กับชีวิตมนุษย์ มีความกดดัน ความเครียดสะสม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมในระยะยาว โดยต้องการให้จัดสรรอัตรากำลังในการทำงาน และค่าตอบแทนที่เหมาะสม เพื่อเสริมสร้างขวัญกำลังใจ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕