หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » กมลมาตุ นุตมากุล
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
การติดตามผลการฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับพยาบาลวิชาชีพ โดยกลุ่มพระภิกษุอาสาคิลานธรรม: กรณีศึกษาคณะแพทยศาสตร์ วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช (สาขาวิชาชีวิตและความตาย)
ชื่อผู้วิจัย : กมลมาตุ นุตมากุล ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
  สาระ มุขดี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาจิตแนวพุทธของพยาบาลวิชาชีพคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ๒) เพื่อติดตามการให้บริการแบบองค์ รวมแนวพุทธของพยาบาลวิชาชีพ ได้ดำเนินการวิจัยโดยวิธีเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งเป็นวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่   ได้รับการฝึกอบรมจากกลุ่มพระอาสาคิลานธรรม จำนวน ๘๗๕ คน โดยขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการคำนวณตามสูตร Taro Yamane ได้ขนาดตัวอย่าง 275 คน มีการสุ่มอาสาสมัครจาก    แผนกต่าง ๆ ของโรงพยาบาลรวมทั้งหมด 46 หน่วย (Wards) ใช้แบบสอบถามจำนวน 275 ชุด   โดยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ประกอบด้วย ๓ ส่วน ๑) ข้อมูลทั่วไปในด้านปัจจัยส่วนบุคคล ๒) ผลการฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้หลักธรรมพรหมวิหาร 4 และการใช้หลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ และ ๓) แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั่วไป เก็บรวบรวมข้อมูลและ   ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ โดยหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) แล้วทำการทดสอบสมมติฐาน โดยการทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบค่าเอฟ (F-test) หรือวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) สำหรับตัวแปรที่มี ๓ ค่าขึ้นไป เมื่อพบว่า มีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีหา ผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference: LSD) จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า

 

             ๑. ผลการฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ พบว่า การพัฒนาจิตแนวพุทธมีการนำหลักพรหมวิหาร ๔ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก                (= ๔.๐๑, S.D. = ๐.๓๒) และเมื่อพิจารณาในรายด้านก็อยู่ในระดับมากทั้ง ๔ ด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยตามลำดับดังนี้ คือ ด้านมุทิตา ด้านเมตตา ด้านกรุณา และด้านอุเบกขา

 

             2. ผลการฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมของพยาบาลวิชาชีพ พบว่า การติดตามการให้บริการแบบองค์รวมแนวพุทธมีการนำหลักสังคหวัตถุ ๔ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่         โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= ๔.๐๖, S.D. = ๐.๓๓) และเมื่อพิจารณาในรายด้านก็อยู่ใน   ระดับมากทั้ง ๔ ด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยตามลำดับดังนี้ คือ ด้านสมานัตตตา ด้านปิยวาจา ด้านอัตถจริยา และด้านทาน

             3. การวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบกับปัจจัยส่วนบุคคลและจำนวนครั้งที่ได้เข้ารับการฝึกอบรมจากกลุ่มพระภิกษุอาสาคิลานธรรม พบว่า มีผลต่อระดับการนำหลักพรหมวิหาร ๔ และ สังคหวัตถุ ๔ ที่พยาบาลวิชาชีพได้นำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย ดังนี้ คือ

               3.๑ ปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน (จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และสถานที่ปฏิบัติงาน / แผนก) มีการนำหลักพรหมวิหาร ๔ และ  หลักสังคหวัตถุ ๔ ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย พิจารณาโดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ยกเว้น ระดับการศึกษามีการนำหลักพรหมวิหาร ๔ ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยต่างกัน กับในส่วนของสถานภาพและระดับการศึกษาซึ่งมีการนำหลักสังคหวัตถุ ๔ ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย ได้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

 

               3.2 จำนวนครั้งการเข้าฝึกอบรมต่างกัน มีการนำหลักพรหมวิหาร ๔ และหลักสังคหวัตถุ ๔ ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย พิจารณาโดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน      อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕