หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » Phramaha E Vajiro (Phetsara)
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๗ ครั้ง
ศึกษารูปแบบการจัดการความขัดแย้งตามหลักธรรมสังคหวัตถุ ๔ ของชุมชน สุคันธาราม แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร (การพัฒนาสังคม)
ชื่อผู้วิจัย : Phramaha E Vajiro (Phetsara) ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  บัว พลรัมย์
  พระมหาสม กลฺยาโณ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการความขัดแย้งตามหลักสังคห-วัตถุ ๔ ของชุมชนสุคันธาราม แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการความขัดแย้งตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของชุมชนสุคันธาราม แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการความขัดแย้งตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของชุมชนสุคันธาราม แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

               การศึกษาครั้งนี้ การวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) การวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนในชุมชนสุคันธารามกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการเปิดตารางขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร่ ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๒๙๔ คน ลักษณะของแบบสอบถามเป็นทั้งปลายเปิดและปลายปิด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) ค่าเอฟ (F-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างเป็นสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กำหนดให้ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) จำนวน ๘ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview)

วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (Descriptive Interpretation)

 

               ผลการวิจัยพบว่า

               ๑. รูปแบบการจัดการความขัดแย้งตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของชุมชนสุคันธาราม แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย ๓.๑๑ และเมื่อจำแนกเป็นรายด้านแล้ว พบว่า รูปแบบการจัดการความขัดแย้งตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของชุมชนสุคันธาราม แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยด้านที่มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการจัดการความขัดแย้งตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของชุมชนสุคันธาราม แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร สูงสุด คือ ด้านอัตถจริยา มีค่าเฉลี่ย ๓.๒๑ รองลงมา คือ ด้านทาน มีค่าเฉลี่ย ๓.๑๑ ด้านสมานัตตตา มีค่าเฉลี่ย ๓.๐๘ และด้านที่มีรูปแบบการจัดการความขัดแย้งตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของชุมชนสุคันธาราม แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ต่ำสุด คือ ด้านปิยวาจา มีค่าเฉลี่ย ๓.๐๓

 

                   ๒.  ผลการทดสอบสมมติฐานรูปแบบการจัดการความขัดแย้งตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของชุมชนสุคันธาราม แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ พบว่า โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐาน

          ๓. ปัญหา อุปสรรคเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการความขัดแย้งตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ของชุมชนสุคันธาราม แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พบว่า ขาดความเสียสละตนเองเพื่อผลประโยชน์ของชุมชน ขาดการเอาใจใสในกิจกรรมต่างๆ ในชุมชนดวยความถูกต้องและเปนธรรมขาดการแนะนําและใหความรูที่มีประโยชน์ในการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน ขาดการใชวาทศิลปในการขอความรวมมือในการทำกิจกรรมในชุมชนขาดการร่วมวางแผนในการลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน ขาดการการมอบหมายงานตามตําแหนงหนาที่อยางเหมาะสมและขาดความกระตือรือรน บ่ายเบี่ยงเมื่อมีคนตองการความช่วยเหลือ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕