หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » รัศม์ณันยา เหล็กเพชร
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง
การบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : รัศม์ณันยา เหล็กเพชร ข้อมูลวันที่ : ๐๕/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูมนูญธรรมธาดา
  วิโรจน์ พรหมสุด
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 3 มีนาคม 2559
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของบุคลากร โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และ 3) เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นครูโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จำนวน 10 โรงเรียน ซึ่งมีจำนวน 221 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเคร็ซซี่และมอร์แกน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มตามระดับชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

             ผลการวิจัย พบว่า

             1. การบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านมุทิตา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านเมตตา ส่วนด้านอุเบกขา มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

             2. การปฏิบัติงานของบุคลากร โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช โดยรวมทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับมาก พบว่า ด้านการปฏิบัติตามกฎ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความรู้เกี่ยวกับงาน ส่วนด้านคุณภาพงาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

              3. การบริหารงานตามหลักพรหมวิหารธรรมของผู้บริหารจำนวน 2 ด้าน คือ การปฏิบัติงานด้านมุทิตา กับการปฏิบัติงานด้านอุเบกขา ซึ่งส่งผลทางบวกต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนครศรีธรรมราช อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปรที่เหลืออีก 2 ด้าน ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสามารถสร้างสมการได้ ดังนี้

 

 

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

Ỹ = 1.866 (Constant) +.073 (เมตตา) +.028 (กรุณา) +.262 (มุทิตา) +.194 (อุเบกขา)

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

Ž = .092 (เมตตา) +.038 (กรุณา) +.348 (มุทิตา) +.269 (อุเบกขา)

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕