หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาถาวร ถาวรเมธี (ภูแผลงทอง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
การจัดการเรียนการสอนบาลี โรงเรียนพระปริยัติธรรมคณะสงฆ์ส่วนกลาง วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บาลีเปรียญเอก (ป.ธ.๗-๘-๙)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาถาวร ถาวรเมธี (ภูแผลงทอง) ข้อมูลวันที่ : ๒๗/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สิน งามประโคน
  สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๘ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

กกกกกกกกการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนการสอนบาลี โรงเรียนพระปริยัติธรรมคณะสงฆ์ส่วนกลาง วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บาลีเปรียญเอก (ป.ธ.๗-๘-๙)  ๒)  เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนบาลี โรงเรียนพระปริยัติธรรมคณะสงฆ์ส่วนกลาง วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บาลีเปรียญเอก (ป.ธ.๗-๘-๙)
๓) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนบาลี โรงเรียนพระปริยัติธรรมคณะสงฆ์ส่วนกลาง
วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บาลีเปรียญเอก (ป.ธ.๗-๘-๙) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บข้อมูลจากพระภิกษุสามเณรทั้งหมดที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประโยค ป.ธ.๗-๘-๙ จำนวนทั้งหมด ๘๐ ชุด ได้รับคืนมาจำนวน ๗๒ ชุด คิดเป็นร้อยละ ๙๐ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวน ค่า
t-test and F-test ในการแปลผลข้อมูล

กกกกกกกกผลการวิจัยพบว่า :

กกกกกกกก๑. สภาพปัญหาของสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เป็นปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การจัดหลักสูตรที่ยืดหยุ่น การสอบและการประเมินผล รวมทั้งปัญหาการขาดการสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ ครูผู้สอนขาดเทคนิควิธีการสอน และการขาดนักเรียนที่สนใจศึกษาอย่างจริงจัง เป็นต้น

กกกกกกกก๒. การบริหารสำนักเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ใน ๕ ด้าน คือ ด้านสภาพทั่วไปของสำนักเรียน ด้านหลักสูตร ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการสอบและประเมินผล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก กล่าวคือ มีสภาพการบริหารจัดการที่พอใช้ค่อนข้างดี โดยมีค่าเฉลี่ย ๓.๘๐ จากระบบ ๕ คะแนน

 

กกกกกกกกโดยแต่ละด้านมีผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องดังนี้ ๑) ด้านการจัดการเรียนการสอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า จัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียนตามเนื้อหา โดยอาจมีการปรับปรุงหลักสูตรเล็กน้อยเพื่อให้เข้ากับผู้เรียน ทั้งนี้อาจเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์ยังคงยึดระบบเดิมที่เข้มงวด ยากต่อการเปลี่ยนแปลง ๒) ด้านหลักสูตร โดยผู้เรียนมีความภาคภูมิใจและมีความสุขต่อการเรียนภาษาบาลี แต่เมื่อเปรียบเทียบเวลาเรียนและหลักสูตรแล้ว พบว่าไม่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบันควรปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง เพราะหลักสูตรมีมาก แต่เวลาเรียนมีน้อย ๓) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ควรให้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับครูสอนบาลี ซึ่งนักเรียนคิดว่าเหมาะสม กิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบันควรมีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาพปัจจุบัน อันจะเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนภาษาบาลีเพิ่มขึ้น  
๔) ด้านสื่อการเรียนการสอน เห็นว่าการมีสื่อที่เหมาะสมทำให้การเรียนการสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประสบความสำเร็จมากว่าการใช้ตำราเรียนที่เน้นการท่องจำเพียงอย่าง ๕) ด้านการวัดผลและประเมินผล ควรมีการจัดแนะแนวเทคนิควิธีการสอบให้แก่นักเรียนก่อนสอบบาลีสนามหลวง ส่วนเกณฑ์การให้คะแนนในการสอบบาลีในปัจจุบันมีความเป็นธรรมกับผู้สอบและควรให้มีการเฉลยข้อสอบให้นักเรียนทราบทุกครั้ง และควรมีการให้ครูสอนมีส่วนร่วมในการออกข้อสอบ ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า การจัดการเรียนการสอนบาลี โรงเรียนพระปริยัติธรรมคณะสงฆ์ส่วนกลาง วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บาลีเปรียญเอก (ป.ธ.๗-๘-๙) มีสภาพการณ์ที่ดี โดยมีกิจกรรมการเรียนการสอน และสภาพทั่วไปที่ดี แต่ด้านหลักสูตร ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการสอบและประเมินผลยังอยู่ในระดับปานกลาง

             ๓. นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคและแนวทางในพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครู ดังนี้ ๑) หลักสูตรมีเนื้อหาเก่าเกินไปทำให้เข้าใจยากไม่เหมาะสมกับผู้เรียนในปัจจุบัน ๒) การจัดการเรียนการสอนของครูขาดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ขาดการสอนแบบบูรณาการทำให้ผู้เรียนเกิดความเครียด ๓) การใช้สื่อการเรียนการสอน ขาดการใช้สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย
๔) กิจกรรมการเรียนการสอน มีกิจกรรมบ้างแต่ไม่คำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน ๕) การวัดผลและประเมินผลยังไม่ชัดเจนและยังขาดการรายงานที่เป็นระบบ

             ๔. แนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี คือ ๑) ด้านหลักสูตร ควรพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม  ๒) ด้านการเรียนการสอน ควรให้ความสำคัญแก่นักเรียนและครูสอนและสนับสนุนงบประมาณอย่างจริงจัง
๓) ด้านสื่อการเรียนการสอน ควรซื้ออุปกรณ์และเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์
  ๔) ด้านกิจกรรมการเรียนการควรกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการเรียน ๕) ด้านการวัดผลและประเมินผล ควรประชุมคณะครูสรุปผลการประเมินการเรียนการสอน เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาร่วมกัน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕