หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พรทิพย์ ณะจะทอง
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช (การบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พรทิพย์ ณะจะทอง ข้อมูลวันที่ : ๒๗/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชสุทธิวิมล
  ยงยุทธ ศรีสุขใส
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

 

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์  คือ ๑) เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอช้างกลาง  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ๒) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา  และประสบการณ์การทำงาน  และ ๓) เพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยครั้งนี้ได้แก่  ผู้บริหารและครู ในโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา ๒๕๕๘ จำนวน  ๑๓๖ คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ  รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบรายคู่ โดยมีผลต่างนัยสำคัญที่สุด(Least Singificant Difference : LSD)  และสรุปข้อมูลปัญหา อุปสรรค์และข้อเสนอ โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้

 

 

             ผลการวิจัย

                ๑) การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอช้างกลาง  จังหวัดนครศรีธรรมราช   ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหารและครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อย  ดังนี้คือ  ด้านหลักสูตร  ด้านการวัดผลประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน  ด้านการพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้  ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา  ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และด้านการนิเทศการศึกษา

 

                 ๒) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอช้างกลาง  จังหวัดนครศรีธรรมราช   โดยรวมตามความคิดเห็นผู้บริหารและครู จำแนกตามระดับการศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .๐๕  จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน 

 

                ๓) ข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอช้างกลาง  จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ผู้บริหารและครูเสนอแนะมากที่สุด คือ ด้านหลักสูตร  โดยเฉพาะในประเด็น ควรสร้างสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้งานวิชาการ     ควรสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมในการดำเนินงานและพัฒนาหลักสูตร   ควรประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง  รองลงมา  คือ ด้านการพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้  ในประเด็นโรงเรียนควรจัดเตรียมสื่อเพียงพอและตรงกับความต้องการ  ควรให้ครูมีการประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ ควรส่งเสริมการจัดทำแผนปฎิบัติการในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 

 

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕