หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » อารียา บุญมี
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
การบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔ โรงเรียนรางวัลพระราชทานจังหวัดนครสวรรค์ (วิชาการบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : อารียา บุญมี ข้อมูลวันที่ : ๒๖/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  วรกฤต เถื่อนช้าง
  อดิศัย กอวัฒนา
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔ โรงเรียนรางวัลพระราชทานจังหวัดนครสวรรค์  ๒)  เพื่อเปรียบเทียบการใช้หลักอิทธิบาท ๔  ระหว่างผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูในโรงเรียนรางวัลพระราชทานจังหวัดนครสวรรค์ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔  โรงเรียนรางวัลพระราชทานจังหวัดนครสวรรค์

ดำเนินการวิจัยด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research)       เก็บข้อมูลเชิงสำรวจ  โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) โดยมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ .๘๗๙ กลุ่มตัวอย่างคือ  ข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนรางวัลพระราชทานจังหวัดนครสววรค์จำนวน ๗๖ คน และเก็บข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์ ด้วยการสัมภาษณ์เชิญลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๘ ท่าน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (Standard Deviation)  โดยการทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบเอฟ (F-test)) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตามวิธีของสเปียร์แมน (Spearman rank-order Correlation Coefficient) และสรุปข้อมูลปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ผลการวิจัย พบว่า ระดับการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔ โรงเรียนรางวัลพระราชทานตามทัศนะของข้าราชการครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่ได้รับพระราชทานรางวัลโรงเรียนรางวัลพระราชทานในเขตจังหวัดนครสวรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต ๑ และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์เขต ๓  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= ๔.๖๒ ) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน โดยด้านจิตตะและวิมังสา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (=๔.๖๗ รองลงมาคือด้านวิริยะ              (=๔.๖๒) และด้านฉันทะ (=๔.๕๔) ตามลำดับ

 

 

เมื่อเปรียบเทียบระดับทัศนะของข้าราชการครูเกี่ยวกับการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔  โรงเรียนรางวัลพระราชทานจังหวัดนครสวรรค์  โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลต่างๆ คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน พบว่า ทัศนะของครูผู้สอนไม่แตกต่างกันทุกด้าน

ในด้านความสัมพันธ์ของตัวแปรย่อยในหลักอิทธิบาท ๔  กับภาพรวมของการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔ พบว่า ตัวแปรย่อยในหลักอิทธิบาท ๔  ในด้านฉันทะ  (rs = .๕๕๖) ด้านวิริยะ  (rs = .๖๑๕) ด้านจิตตะ (rs = .๖๐๖) และด้านวิมังสา (rs = .๕๗๕)                  มีความสัมพันธ์ระดับสูงกับภาพรวมของภาพรวมของการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท ๔  อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .๐๑

 

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕