หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสายแวว วุฑฺฒิธมฺโม (ชาวศรี)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๔ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสาน เรื่องจันทะหมุดที่มีต่อสังคมไทยอีสาน
ชื่อผู้วิจัย : พระสายแวว วุฑฺฒิธมฺโม (ชาวศรี) ข้อมูลวันที่ : ๑๓/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูศรีปริยัตยาภิวัฒน์
  พระครูสิริสุตาภรณ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             วิทยานิพนธ์เป็นเรื่องศึกษาวิเคราะห์คุณค่าหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสานเรื่องจันทะหมุด ที่มีต่อสังคมไทยอีสานนี้มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ ๑) เพื่อศึกษาวรรณกรรมอีสาน เรื่องจันทะหมุด ๒) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมในวรรณกรรมอีสาน เรื่องจันทะหมุด ๓) เพื่อศึกษาคุณค่าหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในวรรณกรรมอีสาน เรื่องจันทะหมุดที่มีต่อสังคมไทยอีสาน เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) และการสัมภาษณ์ภาคสนาม (Interview)

          ผลจากการศึกษาพบว่า

            งานวรรณกรรมอีสาน เรื่องจันทะหมุดนั้นพบว่า เป็นวรรณกรรมร่วมสมัยของวรรณกรรมไทยลาว มีแพร่หลายทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน มีลักษณะคำประพันธ์เป็นวรรณกรรมประเภทโคลงสาร โดยมีจุดมุ่งหมายในการแต่งเพื่อความบันเทิงและเพื่อมุ่งสอนหลักพุทธธรรมในการดำเนินชีวิต

จากการศึกษาหลักพุทธธรรมในวรรณกรรมอีสาน เรื่องจันทะหมุด พบว่า มีหลักพุทธธรรมที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรม ดังนี้  ๑) หลักพุทธธรรมว่าโทษของตัณหา ๒) หลักพุทธธรรมว่าด้วยความผลัดพราก ๓) หลักพุทธธรรมว่าด้วยผู้ประพฤติธรรม ๔) หลักพุทธธรรมว่าด้วยโลกธรรม ๕) หลักพุทธธรรมว่าด้วยกตัญญูกตเวที ๖) หลักพุทธธรรมว่าด้วยความอดทน

เมื่อวิเคราะห์คุณค่าของหลักพุทธธรรมในวรรณกรรมอีสาน เรื่องจันทะหมุดที่มีต่อสังคมไทยอีสานพบว่าสามารถจำแนกออกได้เป็น ๕ ด้าน คือ ๑) คุณค่าด้านการดำเนินชีวิต ๒) คุณค่าด้านสังคม ๓) คุณค่าด้านการเมืองการปกครอง ๔) คุณค่าด้านคติความเชื่อ ๕) คุณค่าด้านวรรณกรรม แสดงออกได้ถึงภูมิธรรม ภูมิปัญญา ภูมิความรู้ในเชิงภาษาและการแต่งวรรณกรรมที่ล้ำลึกได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีอิทธิพลต่อสังคมไทยอีสาน ตำบลกระโสบ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ใน ๔ ด้าน คือ ๑) คุณค่าด้านการดำเนินชีวิต ๒) คุณค่าด้านสังคม ๓) คุณค่าด้านการเมืองการปกครอง ๔) คุณค่าด้านคติความเชื่อ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕