หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ศิรินรักษ์ สังสหชาติ
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหาร ส่วนตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ศิรินรักษ์ สังสหชาติ ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุรพล สุยะพรหม
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
๒) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
บึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหาร
ส่วนตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) จากแบบสอบถาม (Questionnaire) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนในพื้นที่เขตปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ
จังหวัดพิษณุโลก จำนวน ๓๘๔ คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (
Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ
และมาตราส่วนประเมินค่า ๕ ระดับ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๘๖ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์  โดยใช้สถิติค่าความถี่ (
Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
(
One Way ANOVA)  ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ (Least Significant Difference : LSD) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน ๗ ท่าน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการศึกษาพบว่า

๑. ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
บึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (= ๒.๙๑)
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ ด้านการร่วมรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
(=๓.๑๔) ด้านการมีส่วนร่วมคิดพัฒนา (=๒.๙๐) ด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจ (=๒.๘๕)
ด้านการมีส่วนร่วมปฏิบัติ
(=๒.๘๔) และด้านการมีส่วนร่วมติดตามและประเมินผล (=๒.๘๑)

๒. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เพศ อายุ การศึกษา อาชีพและรายได้เฉลี่ย
ต่อเดือน พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ การศึกษา และอาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีส่วนร่วมในการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้

๓. ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก พบว่า

ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก คือ ๑) องค์การบริหารส่วนตำบลยังขาดการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานต่างๆ ขององค์การบริหาร
ส่วนตำบล ๒) ประชาชนยังไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการร่วมคิดร่วมพัฒนาร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล
๓) ประชาชนยังไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาต่างๆ ของชุมชนของตัวเองให้องค์การบริหารส่วนตำบลรับทราบ หรือแม้แต่กระทั่ง องค์การบริหารส่วนตำบล จัดทำประชาคม
๔)
ยามที่องค์การบริหารส่วนตำบลต้องการความร่วมมือ ยังได้รับการตอบรับน้อยอยู่ ๕) ประชาชน
ยังขาดการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล

ข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบึงกอก อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก คือ ๑) องค์การบริหารส่วนตำบลควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล ๒) ประชาชนควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการร่วมคิดร่วมพัฒนาร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล
๓) ประชาชนควรเข้าไปมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาต่างๆ ของชุมชนของตัวเองให้องค์การบริหารส่วนตำบลรับทราบ หรือแม้แต่กระทั่ง องค์การบริหารส่วนตำบล จัดทำประชาคม ๔) ยามที่องค์การบริหารส่วนตำบลควรให้ความร่วมมือ เราควรให้ความร่วมมือ ๕) ประชาชนควรติดตาม
และประเมินผลการดำเนินงานต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕