หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วราพร ศรีชัย
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๘ ครั้ง
การประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรมในการปฎิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : วราพร ศรีชัย ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูภาวนาโสภิต
  ปรารถนา พิชัย
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 22 มีนาคม 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการประยุกต์  ใช้หลักฆราวาสธรรม 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากร  2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรม 4 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรค

และข้อเสนอแนะต่อการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรม 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากร และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรม4 ในการปฎิบัติงานของบุคลากร โดยใช้การวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) อย่างเท่าเทียม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการเก็บรวบรวมด้วยวิธีการแจกแบบสอบถาม (Question) กับกลุ่มประชากรที่ได้กำหนดไว้ และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In depth interview) กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล
อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน จำนวน 152 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลจากการสัมภาษณ์ โดยผู้วิจัยทำการ
จัดกลุ่มข้อมูล สาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

             1) บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 83 คน คิดเป็นร้อยละ 54.60 มีอายุระหว่าง 3๑4๐ ปี จำนวน 68 คน คิดเป็นร้อยละ 44.70 มีวุฒิการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี จำนวน 74 คน  คิดเป็นร้อยละ ๔8.70 มีสถานภาพสมรส จำนวน 101 คน คิดเป็นร้อยละ ๖6.40 มีประสบการณ์ทำงาน 10 ปีขึ้นไป จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 32.90
มีรายได้ต่อเดือน ระหว่าง 5
,000 10,000 บาท จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 30.30 และมีตำแหน่งหน้าที่เป็นพนักงานส่วนตำบล จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ
32.20 บุคลากรมีระดับความคิดเห็นโดยค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.24) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน

             2) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของบุคลากรโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และสถานภาพแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรม 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีประสบการณ์ทำงาน รายได้ต่อเดือน และตำแหน่งหน้าที่ แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรม 4 ในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

             3) ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรม 4 ในการปฏิบัติ
งานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล พบว่า บุคลากรบางคนไม่มีความจริงใจที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างจริงจัง
ไม่มีความซื่อสัตย์ต่อการปฎิบัติงาน ขาดการพัฒนาตนเองเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม ไม่มีความอดทน อดกลั้นในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ข้อเสนอ

แนะแนวทางการประยุกต์ใช้หลักฆราวาสธรรม 4 ในการปฎิบัติงาน  ควรส่งเสริมให้มีการฝึกอบรม
สร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติงาน
โดยการนำหลักฆราวาสธรรม 4 มาประยุกต์ใช้ในการปฎิบัติงานให้มากยิ่งขึ้น 

             4) ผลการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญส่วนใหญ่เน้นเรื่องของการปฎิบัติ
งานที่สอดคล้องกับหลักฆราวาสธรรม 4 โดยเฉพาะเรื่องความจริงใจ ความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงาน  การพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถในการทำงาน  มีความอดทน อดกลั้น แก้ไขปัญหาต่างๆ
ด้วยสติปัญญา มีความเสียสละ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่  ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว
โดยมุ่งหวังให้การปฎิบัติ  งานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕