หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณัทนภัค สุดใจ
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ณัทนภัค สุดใจ ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระโสภณวราภรณ์
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ ๑. เพื่อศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และ ๒. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview Form) จำนวน ๑๕ ชุด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)

         

            ผลการวิจัย พบว่า

            ๑) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ มีการให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยการสนับสนุน ส่งเสริมบุคลากรให้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นระบบ มีมาตรฐาน โดยให้บุคลากรมีส่วนร่วม ขณะเดียวกันควรมีการประเมินผลทั้งก่อนและหลังการดำเนินการตามแผนการฝึกอบรม ศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนั้นยังควรจัดตั้งคณะกรรมการจัดแผนการฝึกอบรมบุคลากรในองค์กรโดยให้บุคลากรมีส่วนร่วม และมีการประเมินผลทั้งก่อนและหลังการดำเนินการตามแผนการพัฒนาบุคลการ

            ๒) สภาพปัญหาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ พบว่า ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ มีการการวางแผนกำลังคน มีปัญหาในการจัดแผนอัตรากำลัง ๒ ปี และกรอบอัตรากำลัง ๔ ปี ในประเด็นที่ไม่สามารถกำหนดนโยบายหรือแนวทางที่ชัดเจนด้านการสรรหาทรัพยากรมนุษย์ การสรรหาบุคลากรโดยการขอใช้บัญชีผู้สอบบรรจุแข่งขันนั้น คือ การที่ไม่สามารถระบุหรือทราบตัวบุคคลผู้ที่ขอใช้บัญชีผู้สอบแข่งขันได้ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พบว่า การสนับสนุนส่งเสริมให้ความรู้ให้กับบุคลากรนั้น ยังขาดแผนการพัฒนาที่ชัดเจนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ความสามารถให้กับบุคลากรแต่ละส่วนหรือของบุคลากรทั้งหมดภายในองค์กรและยังไม่มีการดำเนินการประเมินผลบุคลากรก่อนและหลังการได้รับการพัฒนา และด้านการดำรงรักษาทรัพยากรมนุษย์การบริหารค่าตอบแทนประโยชน์และบริการนั้น มีปัญหาเกี่ยวกับการบริหารค่าตอบแทนประโยชน์และบริการให้กับบุคลากร

            ๓) แนวทางการพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ควรจัดให้มีคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรอง ตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดก่อนเสนอความเห็นและข้อมูลประกอบ เพื่อให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้พิจารณาและทำการตัดสินใจ โดยเฉพาะการจัดทำแผนเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนควรมีการติดตาม ประเมินผลทั้งก่อนและหลังการปฏิบัติงานทุกครั้งอย่างสม่ำเสมอ

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕