หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการภานุมาต ขนฺติธโร ( นิ่มอนงค์ )
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๙ ครั้ง
บทบาทในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมขององค์การบริหารส่วน ตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการภานุมาต ขนฺติธโร ( นิ่มอนงค์ ) ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เติมศักดิ์ ทองอินทร์
  รัฐพล เย็นใจมา
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

              การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์   ๑) เพื่อศึกษาบทบาทในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ๒) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมองค์การบริหารส่วนตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นหลัก และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) สนับสนุน การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน ๓,๙๐๕ คน และกำหนดขนาดลุ่มตัวอย่างโดยการใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ (Taro Yamane) ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๖๓ คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า ๕ ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency), ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบสมมติด้วยค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) และวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) เพื่อการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไป และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างเป็นสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD.) การวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยสำภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ๘ คน เลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ (Descriptive Interpretation)

 

ผลการวิจัยพบว่า :

 

              ๑) บทบาทในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่าด้านศีลอยู่ในระดับมาก ( =-๓.๖๓, S.D. =.๐.๕๐) ด้านสมาธิอยู่ในระดับมาก ( = ๓.๕๗, S.D. =.๐.๓๙)  ด้านปัญญาอยู่ในระดับมาก ( =-๓.๓๙, S.D. =.๐.๒๔)

              ๒) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อบทบาทองค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน  พบว่า ประชาชนที่มี เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทองค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ไม่แตกต่างกัน และประชาชนที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นต่อบทบาทองค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ ๐.๐๕

              ๓) ปัญหาและอุปสรรค ของบทบาทองค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในตำบลกฤษณา อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี พบว่า ด้านการให้ความรู้และพัฒนาจิตใจแก่คนในชุมชน ขาดการป้องกันเกี่ยวกับกระแสวัตถุนิยม ขาดการพัฒนาเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม เยาวชนไม่สนใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเท่าที่ควร ด้านการส่งเสริมการศึกษา ประชาชน ไม่มีเวลาเพียงพอในการถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีแก่กันและกัน ขาดการสอนวิชาศีลธรรมในสถานศึกษา ข้อเสนอแนะได้แก่ ควรมีการอบรมและส่งเสริมจริยธรรมแก่ประชาชน จัดให้มีกิจกรรมร่วมกันเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ภายในชุมชน จัดให้มีโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่ประชาชน และควรส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเพื่อสร้างค่านิยมที่ดีในชุมชน

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕