หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พุทธิพงษ์ กันทะรส
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๖ ครั้ง
ภาวะผู้นำในการบริหารงานกิจการคณะสงฆ์ ของพระราชปัญญาโมลี (จำรัส ทตฺตสิริ) (รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : พุทธิพงษ์ กันทะรส ข้อมูลวันที่ : ๐๑/๐๒/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญโญ
  นิกร ยาอินตา
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑. เพื่อศึกษาแนวคิดภาวะผู้นำเชิงพุทธในการบริหารกิจการคณะสงฆ์  ๒. การบูรณาการหลักภาวะผู้นำเชิงพุทธเพื่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของ
พระราชปัญญาโมลี (จำรัส ทตฺตสิริ) ๓. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำในการบริหารกิจการคณะสงฆ์
ของพระราชปัญญาโมลี (จำรัส ทตฺตสิริ) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
(Qualitative Research) โดยการศึกษาวิจัยเชิงเอกสาร และวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) กับพระสังฆาธิการผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๑๕ รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structuredl Interview) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอในรูปแบบการพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

    ๑. ภาวะผู้นำเชิงพุทธในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ที่เหมาะสมในยุคโลกาภิวัตน์ ได้แก่ภาวะผู้นำเชิงพุทธในทางพระพุทธศาสนาได้เน้นให้เห็นความสำคัญของตัวบุคคล เพื่อให้บุคคลสำรวจฝึกฝนปรับปรุงตนเอง เพราะต้องการให้รู้จักตนเอง รับผิดชอบตนเอง เคารพเชื่อมั่น และช่วยเหลือตัวเอง การมีภาวะผู้นำคือการมีศิลปะจูงใจและอำนวยการให้ผู้ใต้บังคับบัญชา ปฏิบัติภารกิจตามที่พึงประสงค์ด้วยการเชื่อฟัง เชื่อมั่น เคารพนับถือและร่วมมืออย่างจงรักภักดี หลักธรรมต่างๆ ในทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ผู้นำสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี เพื่อให้การบริหารลุล่วงไปด้วยดีและมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาปรับและประยุกต์ ประกอบด้วย หลักอธิปไตย ๓ หลักหลักสังคหวัตถุ ๔ หลักพละ ๕  พรหมวิหาร ๔ เป็นต้น

             ๒. การบูรณาการหลักภาวะผู้นำเชิงพุทธเพื่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระราชปัญญาโมลี (จำรัส ทตฺตสิริ) ทั้ง ๖ ด้านที่โดดเด่น เป็นผู้นำที่สอดคล้อง ในพระพุทธศาสนา คือ ลักษณะของธรรมราชา และลักษณะของเทวราชา อีกทั้งสามารถประยุกต์ใช้เพื่อการบริหารกิจการคณะสงฆ์ กล่าวคือ รู้จักการใช้หลักอธิปไตย ๓ ในด้านการปกครอง รู้จักการใช้หลักพรหมวิหาร ๔ ในด้านการปกครอง การใช้หลักสังคหวัตถุ ๔ ในด้านการศึกษาสงเคราะห์ สาธารณสงเคราะห์และการสาธารณูปการ การใช้หลักพละ ๕ ในด้านการศึกษาและการเผยแผ่

             ๓. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระราชปัญญาโมลี (จำรัส ทตฺตสิริ) ได้แก่ เป็นผู้ที่มีปัญญาและวิสัยทัศน์ และรู้จักวิธีการประพฤติประโยชน์ และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ร่วมงาน ด้วยการพัฒนาระบบการบริหารงานในองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถในการทำงาน มีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการทำงานเป็นทีม มีการแก้ไขปัญหาโดยยุติธรรม ตลอดจนการสร้างวิสัยทัศน์ให้แก่คณะสงฆ์เพื่อให้คณะสงฆ์มีส่วนร่วมกันทำงานในการบริหารกิจการทั้งหลายของคณะสงฆ์ไทย ซึ่งเป็นภาวะผู้นำที่ตรงตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา  ได้แก่  หลักอธิปไตย ๓ หลักสังคหวัตถุ ๔ หลักพละ ๕  พรหมวิหาร ๔ เป็นเบื้องต้น

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕