หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ภัคจิรา คันธยศ
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๗ ครั้ง
การบริหารงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีของ เทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่(รัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ภัคจิรา คันธยศ ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๑/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูสุนทร สังฆพินิต
  นิกร ยาอินตา
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 22 มีนาคม 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีของเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีของเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอในการบริหารงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีของเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่4) เพื่อประยุกต์การนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เพื่อนำมาใช้ในการบริหารงานเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ การศึกษาครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method)โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปโดยเลือกประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่จำนวน 13หมู่บ้านจำนวน 359 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง ตามลำดับชั้นอย่างเป็นสัดส่วนตามตารางมาตรฐานว่าด้วยขนาดประชากรและขนาดตัวอย่างโดยการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ (Taro Yamane) ประชากร จำนวน 3,500 คน ขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความคลาดเคลื่อน 5 % ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 359 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดย (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ห่าค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวในกรณีตัวแปรต้นสองกลุ่ม และการทดสอบค่า (F- test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่สามกลุ่มขึ้นไปและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่โดยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Different : LSD) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท พร้อมกับวิเคราะห์โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน

 

 

          ผลการวิจัยพบว่า

          1)  ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีของเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.89 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกระดับ ด้านการบริหารงานตามหลักนิติธรรม มีค่าเฉลี่ย 3.83 ด้านการบริหารงานตามหลักคุณธรรม มีค่าเฉลี่ย 3.84 ด้านการบริหารงานตามหลักความโปร่งใสมีค่าเฉลี่ย 3.76 ด้านการบริหารงานตามหลักการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ย 4.03ด้านการบริหารงานตามหลักความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ย 4.06 ด้าน และด้านการบริหารงานตามหลักความคุ้มค่า มีค่าเฉลี่ย 3.82

          2)  เปรียบเทียบความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีของเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่  เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และ รายได้ พบว่า ประชาชาชนที่มี อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และ รายได้ ต่างกันมีความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีของเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ไม่แตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มี เพศอาชีพ ต่างกันต่างกันมีความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีของ เทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ 0.01

3) ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีของเทศบาลตำบลป่าแดดอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่พบว่าขาดการประชาสัมพันธ์ข้อบังคับเทศบาล กฎหมาย สิทธิและหน้าที่ของประชาชนให้ทราบอย่างทั่วถึง การบริหารงานขาดความจริงใจในการรับใช้ทางเทศบาลไม่มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานโครงการต่างๆ ของเทศบาลให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึงขาดการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางการบริหารงานของคณะผู้บริหารและพนักงานเทศบาล ขาดความกระตือรือร้น ความจริงใจในการแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากร/งบประมาณไม่เหมาะสมกับการดำเนินงานสิ้นเปลืองเกินความจำเป็น

          4) การสัมภาษณ์เชิงลึก บุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีของเทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ควรนำกฎระเบียบ ข้อบังคับมาใช้กับ พนักงาน สมาชิกสภา ผู้บริหารทุกคน รวมถึงประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลโดยไม่มีการละเว้นในการในการปฏิบัติ ผู้บริหาร พนักงานของทางเทศบาลควรมีคุณธรรม จริยธรรมและยึดหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเพื่อความสงบสุข ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕