หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการเฉลย ฉนฺทโก (อิ้มทับ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๑ ครั้ง
ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเทศนาของพระสงฆ์ในตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก(สาขาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการเฉลย ฉนฺทโก (อิ้มทับ) ข้อมูลวันที่ : ๒๒/๑๑/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญโญ
  พัชราวลัย ศุภภะ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ เมษายน ๒๕๖๐
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ คือ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเทศนาของพระสงฆ์ในตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเทศนาของพระสงฆ์ในตำบลดอนทองอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเทศนาของพระสงฆ์ตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน ๓๘๙ คน ใช้วิธีรูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจจากแบบสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญเพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

 

         ผลการวิจัยพบว่า

         ๑. ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเทศนาของพระสงฆ์ในตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยภาพรวมอยู่ในปานกลาง มีค่าเฉลี่ย ๓.๐๖ และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเทศนาของพระสงฆ์ในตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ในด้านจริยาวัตรการเทศนา ด้านรูปแบบการเทศนา ด้านเทคนิคการเทศนา ด้านเนื้อหาสาระการเทศนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน

         ๒. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการเทศนาของพระสงฆ์ในตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยจำแนกตามข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และระดับการศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนประชาชนที่มีอายุ และอาชีพต่างกัน โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ จึงยอมรับสมมติฐาน

         ๓. การศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการเทศนาของพระสงฆ์ตำบลดอนทอง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ขาดการชี้แจงให้เข้าใจ และรู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไร อย่างไรมีศิลปะในการพูด ขาดประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี น่าเสื่อมใสเคารพ ศรัทธา ขาดแนะนำในเรื่องที่ดี และเป็นประโยชน์สามารถอธิบายเรื่องที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย ขาดการดำเนินเนื้อหาด้วยถ้อยคำและสำเนียงภาษาที่น่าฟัง ขาดทำนองแหล่แสดงตามลำดับเนื้อหาถ้อยคำไพเราะชัดเจนไม่วกวน การสรุปเนื้อหาเข้าใจรู้สึกคล้อยตามและนำไปปฏิบัติได้ ขาดการใช้สื่อที่ทันสมัยในประกอบการเผยแผ่ธรรมะที่ทำให้เนื้อหาน่าสนใจ เข้าใจง่าย ขาดการเปรียบเทียบอุปมา อุปมัยให้เข้ากับเนื้อหาธรรมะการเล่านิทานแล้วยกอุทาหรณ์ประกอบ ขาดการยกพุทธศาสนสุภาษิต คำคม คำขัน คำกลอน ประกอบเนื้อหาธรรมะ ขาดเนื้อหาในการเทศนากระชับ ได้ใจความไม่คุมเครือ ขาดเนื้อหาที่เทศน์ทันสมัย เข้ากับโลกปัจจุบันได้ และขาดการยกอุทาหรณ์หรือตัวอย่างที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีการชี้แจงให้เข้าใจ และรู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไร อย่างไรมีศิลปะในการพูด ควรแสดงประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี น่าเสื่อมใสเคารพ ศรัทธา ควรแนะนำในเรื่องที่ดี และเป็นประโยชน์สามารถอธิบายเรื่องที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย ควรมีการดำเนินเนื้อหาด้วยถ้อยคำและสำเนียงภาษาที่น่าฟัง ควรเพิ่มทำนองแหล่แสดงตามลำดับเนื้อหาถ้อยคำไพเราะชัดเจนไม่วกวน มีการสรุปเนื้อหาเข้าใจรู้สึกคล้อยตามและนำไปปฏิบัติได้ ควรมีการใช้สื่อที่ทันสมัยในประกอบการเผยแผ่ธรรมะที่ทำให้เนื้อหาน่าสนใจ เข้าใจง่าย ควรมีการเปรียบเทียบอุปมา อุปมัยให้เข้ากับเนื้อหาธรรมะการเล่านิทานแล้วยกอุทาหรณ์ประกอบ ควรมีการยกพุทธศาสนสุภาษิต คำคม คำขัน คำกลอน ประกอบเนื้อหาธรรมะ ควรเพิ่มเนื้อหาในการเทศนาให้กระชับ ได้ใจความไม่คุมเครือ ควรหาเนื้อหาที่ทันสมัย เข้ากับโลกปัจจุบัน

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕