หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ประสงค์ ฝักฝ่าย
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๘ ครั้ง
ประสิทธิผลการดำเนินงานตามแนวนโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวกับการ รณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาของบุคลากรโรงงานผลิตอาหารสัตว์ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จังหวัดลำพูน(สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ประสงค์ ฝักฝ่าย ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๙/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  -
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 20 มีนาคม ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย  คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาของบุคลากร ตามปัจจัยส่วนบุคคลของโรงงานผลิตอาหารสัตว์ บริษัท       ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จังหวัดลำพูน  2)  เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาของบุคลากรโรงงานผลิตอาหารสัตว์ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จังหวัดลำพูน  3)  เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะของการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาของบุคลากรโรงงานผลิตอาหารสัตว์ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จังหวัดลำพูน  4) เพื่อศึกษาแนวทางการรณรงค์ในโครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาของบุคลากรโรงงานผลิตอาหารสัตว์ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จังหวัดลำพูนต่อไป  ซึ่งการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Medthod)  กลุ่มตัวอย่างจำนวน  132  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์  เพื่อหาความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที  (t-test)  และค่า  (f-test)  ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว  (One Way Anova)  ในส่วนของข้อคำถามปลายเปิดที่แสดงถึงปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ  ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มตามประเด็นที่กำหนดไว้ในแบบสอบถามปลายเปิด  จากนั้นจะทำการวิเคราะห์  โดยใช้การแจกแจงความถี่  (Frequency)  และข้อมูลจากการสัมภาษณ์  ผู้วิจัยทำการจัดกลุ่มข้อมูล  (Data Grouping)  สาระสำคัญของประเด็นการสัมภาษณ์  จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา  (Content Analysis Technique)

ผลการวิจัยพบว่า

1.  ระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการดำเนินงานตามแนวนโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวกับการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาของบุคลากรโรงงานผลิตอาหารสัตว์บริษัท ซีพีเอฟ       (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จังหวัดลำพูน  ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับปานกลาง  (X̅ = 3.12)       เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า  ด้านการประชาสัมพันธ์  ด้านการอบรมให้ความรู้เรื่องพิษภัยของการดื่มเหล้า และด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมในการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษา  อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน

2.  การเปรียบเทียบประสิทธิผลการดำเนินงานตามแนวนโยบายของภาครัฐที่เกี่ยวกับการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาของบุคลากรโรงงานผลิตอาหารสัตว์บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จังหวัดลำพูน  จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล  จากการวิจัยพบว่า  บุคลากรที่มีเพศ  อายุ  สถานภาพ  และรายได้ต่อเดือนต่างกัน  มีระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลของการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาของบุคลากรโรงงานผลิตอาหารสัตว์บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จังหวัดลำพูนไม่แตกต่างกัน  ในขณะที่บุคลากรที่มีระดับการศึกษาต่างกัน  มีระดับความคิดเห็นต่อประสิทธิผลของการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาของบุคลากรโรงงานผลิตอาหารสัตว์บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จังหวัดลำพูนแตกต่างกัน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  0.05

3.  ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาของบุคลากรโรงงานผลิตอาหารสัตว์ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จังหวัดลำพูน  พบว่า  ด้านการประชาสัมพันธ์  ช่องทางในการประชาสัมพันธ์โครงการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาของบริษัทยังมีน้อยมาก  บริษัทควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์ให้มากกว่านี้ ในหลาย ๆ ช่องทาง  ด้านการอบรมให้ความรู้เรื่องพิษภัยของการดื่มเหล้า  พบว่า  บริษัทไม่มีการจัดอบรมเรื่องพิษภัยและโทษของการดื่มเหล้าให้กับพนักงานเลย  บริษัทควรจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ มีชื่อเสียงมาอบรมให้ความรู้กับพนักงานในโรงงาน  ด้านการจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมในการงดเหล้าเข้าพรรษา  พบว่า  บริษัทขาดการจัดกิจกรรมส่งเสริมจริยธรรมในการงดเหล้าเข้าพรรษาและไม่มีใครเป็นแบบอย่างที่ดีในหน่วยงาน  บริษัทควรจัดกิจกรรมให้เข้าถึงพนักงานทุกคนทุกระดับและควรจัดอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

4.  แนวทางในการรณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาของบุคลากรโรงงานผลิตอาหารสัตว์ พบว่า  มุ่งเน้นให้จัดกิจกรรมการงดเหล้าเข้าพรรษาให้เป็นกิจกรรมหลักในแผนงานประจำปีของบริษัทที่ต้องกระทำกันอย่างต่อเนื่อง  สร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของการงดเหล้าเข้าพรรษาว่าเป็นการรักษาศีลและนำมาเป็นหลักยึดเหนี่ยวในการดำรงชีวิตประจำวัน  ส่งเสริมแนวทางให้ปฏิบัติตามศีลข้อที่ห้าโดยเน้นกิจกรรมการทำบุญเข้าวัดเข้าวา  การปฏิญาณตนเลิกเหล้าเข้าพรรษา

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕