หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ศฤงคาร นันทะชัย
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๑ ครั้ง
บทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่เป็นจริงในการบริหารงานของเทศบาล ตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ตามทัศนะของประชาชน(สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์)
ชื่อผู้วิจัย : ศฤงคาร นันทะชัย ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๘/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เสน่ห์ ใจสิทธิ์
  ศรีธน นันตาลิต
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๐ / มีนาคม / ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาบทบาทที่คาดหวัง และบทบาทที่เป็นจริงในการบริหารงานของเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ตามทัศนะของประชาชน            ๒) เพื่อเปรียบเทียบบทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่เป็นจริงในการบริหารงานของเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ตามทัศนะของประชาชน ๓) ศึกษาปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ       ในการบริหารงานของเทศบาลตำบลก้อ     อำเภอลี้    จังหวัดลำพูน   ตามทัศนะของประชาชน   ๔) ศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาอุปสรรค  ในการบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุธรรม ของเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน เพื่อให้ทราบถึงความต้องการของประชาชน และเพื่อให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริการงานด้านต่างๆร่วมกับเทศบาลตำบลก้ออำเภอลี้จังหวัดลำพูน ดำเนินการตามระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือประชาชนที่มีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป โดยเลือกประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน  จำนวน ๔ หมู่บ้าน  โดยใช้ตารางของ เครจซี่และมอร์แกน  จากจำนวนประชากรทั้งหมด  ๒,๔๓๔ คน ได้ประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน๓๓๕ คน                                                                                                                              

               ผลการวิจัยพบว่า

๑.      บทบาทที่คาดหวังของประชาชน   ในการบริหารของเทศบาลตำบลก้อ  อำเภอลี้

จังหวัดลำพูน ตามทัศนะของประชาชน ในงานหลัก ๖ ประเด็น โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก       มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๔๒  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน และบทบาทที่เป็นจริงของประชาชนที่มีต่อการบริหารงานของเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ในงานหลัก ๖ ประเด็น โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๓.๗๑  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน 

 

 

 

                 ๒.การเปรียบเทียบบทบาทที่คาดหวังและบทบาทที่เป็นจริงในบริหารงานขอเทศบาล

ตำบลก้อ  อำเภอลี้  จังหวัดลำพูน โดยภาพรวม  ด้วยการทดสอบค่า  ที ได้แก่  บทบาทที่คาดหวัง 

มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ  ๔.๔๒  และบทบาทที่เป็นจริง  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ   ๓.๗๑   พบว่า   โดยภาพรวม

ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

                ๓. ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารงานของเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้จังหวัดลำพูน พบว่า ขาดการพัฒนาระบบประปาให้ทันสมัย ถนนภายในหมู่บ้านสภาพไม่ดีการขนส่งสินค้าทางการเกษตรไม่สะดวก การขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะไฟกิ่งไม่ทั่วถึง ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กชำรุดเสียหายอย่างมากมีการระบาดของไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้นขาดการสนับสนุนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอย่างเพียงพอ ควรให้ทุนการศึกษาที่ให้แก่บุตรผู้ยากจนการมอบเครื่องกันหนาวได้ไม่ทั่วถึงที่ทำกินไม่เพียงพอ  ไม่มีแหล่งน้ำใช้ในการเกษตร ไม่มีอาชีพเสริมที่มั่นคงให้ประชาชน ขาดตลาดในการระบายสิ้นค้าการแปรรูปอาหาร  การทำปลากรอบ   การท่องเที่ยวขาดการประชาสัมพันธ์การบริการข่าวสารต่างๆ  ไม่ทั่วถึงการกำจัดขยะมูลฝอยยังต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น  ขาดการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างจริงจัง

                 ๔.  ข้อเสนอแนะ พบว่า ควรมีการสร้างระบบสาธารณูปโภคที่ทันสมัย ให้ทั่วถึงทุกพื้นที่การคมนาคมภายในหมู่บ้านปรับปรุง และเชื่อมต่อกับหมู่บ้านอื่นๆ  ควรสร้าง   และหาแหล่งกักเก็บน้ำให้เพียงพอใช้ในการเกษตร    ชุมชนต้องร่วมกันอนุรักษ์ป่าไม้   และทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม   มีบริการข้อมูลข่างสารต่างๆอย่างทั่วถึงส่งเสริมให้ประชาชนมีการรักษาความสงบความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและในด้านต่างๆ จัดระเบียบการจารจร  การค้าขาย การจัดเก็บค่าธรรมเนียมทุกประเภทให้ถูกต้องและเป็นธรรมปลูกฝังให้เยาวชนมีคุณธรรมและจริยธรรมพร้อมให้การสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อเสริมให้ประชาชนได้ลงทุนพาณิชย์กรรมการประกอบอาชีพเสริมการจักสานไม้ไผ่เป็นของใช้การแปรูปอาหารจากวัสดุที่มีในท้องถิ่นการทำหน่อไม้อัดถุงพลาสติกควรส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างจริงจังเน้นวัฒนธรรมวิถีชีวิตและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕