หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาแฝด จนฺทโก (สุวรรณโชติ)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๐ ครั้ง
ศึกษาเหตุเกิดและเหตุดับของรูปขันธ์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาแฝด จนฺทโก (สุวรรณโชติ) ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๘/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระครูโกมุทสิทธิการ
  ณัทธีร์ ศรีดี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐/มีนาคม/๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษารูปขันธ์ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาเหตุเกิดและเหตุดับของรูปขันธ์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา  โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุป วิเคราะห์ เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า

รูปขันธ์ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทมี ๒๘ ชนิด แบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ ๑. มหาภูตรูป รูปใหญ่ ๔ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ๒. อุปาทายรูป รูปอาศัยรูปใหญ่ ๒๔ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส สตรี ชาย ชีวิต หทัยวัตถุ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาส รูปเบา รูปอ่อน รูปคล่องตัว รูปเจริญขึ้น รูปต่อเนื่อง รูปทรุด รูปไม่ยั่งยืน อาหาร

การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามหลักสติปัฏฐานสูตรในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท มีสติกำกับกาย เวทนา จิต ธรรม ให้ระลึกรู้อยู่ในรูปนามปัจจุบันมีปัญญาเห็นแจ้งในไตรลักษณ์คือ รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ บังคับให้เป็นดังใจปรารถนาไม่ได้ มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไปเป็นธรรมดา วิธีปฏิบัติคือมีสติกำหนดรู้สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะปฎิบัติ จะทำให้ผู้ปฏิบัติภาวนารู้จักและเข้าใจตนเองได้ดียิ่งขึ้น สติปัญญาที่เจริญขึ้นสามารถใช้ดำรงชีวิตและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จได้ บรรลุมรรคผลได้

กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาเป็นเหตุเกิดของรูปขันธ์ ซึ่งมีมูลเหตุมาจากอวิชชา อวิชชาตัณหา กรรม อาหาร เกิด รูปขันธ์จึงเกิด กล่าวคือรูปขันธ์เกิดจากนาม อีกอย่างกรรม จิต อุตุ อาหารก็เป็นเหตุให้รูปเกิด กรรม จิต อุตุ เป็นธรรมในอดีตชาติจนถึงปฏิสนธิ นับแต่ปฏิสนธิมาก็มีอาหารที่บำรุงเลี้ยงรูปให้ดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน การดับเหตุเกิดแห่งตัณหาได้ก็คือการดับเหตุดับรูปขันธ์นั่นเอง

อาศัยสติกำหนดรู้ทางอายตนะให้รู้เท่าทันของสภาวะการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของรูปนาม กล่าวคือรูปในขณะก้าวไปก็ดับลงในขณะก้าวไปยังไม่ทันก้าวกลับ รูปก้าวไปจะเกิดได้เพราะจิตสั่งให้ก้าวไป รูปเดินจึงเกิดจากจิตที่เรียกว่าจิตตชรูป มีสติสามารถรู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามกิริยาอาการความรู้สึก ดับรูปนามเท่าทันในขณะปัจจุบันนั้นได้ กำจัดอนุสัยกิเลส ละความยึดมั่นในรูปขันธ์

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕