หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระอธิการบรรลือ ลกฺขโณ (พรมน้อย)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๒ ครั้ง
ศึกษาสภาวะเกิดดับของวิญญาณขันธ์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
ชื่อผู้วิจัย : พระอธิการบรรลือ ลกฺขโณ (พรมน้อย) ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๘/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเมธีวรญาณ (สายเพชร วชิรเวที)
  วิโรจน์ คุ้มครอง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๐/มีนาคม/๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษาวิญญาณในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาสภาวะเกิดดับของวิญญาณขันธ์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุป วิเคราะห์ เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า

วิญญาณ มีความหมาย ๒ นัยคือ วิญญาณในฐานะที่เป็นตัวรู้ หมายถึง จิต เรียกว่า วิญญาณธาตุ และวิญญาณในฐานะเป็นส่วนประกอบขันธ์ ๕ เป็นส่วนหนึ่งที่รู้แจ้ง ลักษณะรับรู้อารมณ์ เรียกว่า วิญญาณขันธ์ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์ คือ ความรู้แจ้งทางทวารทั้ง ๖ ได้แก่ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ หรือเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายใน และอายตนะภายนอกกระทบกัน เป็นเหตุเกิดของตัณหาอุปาทาน

การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เป็นการฝึกฝนอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้ง ในสภาวะของความเป็นจริงของสรรพสิ่ง โดยอาศัยรูปนามเป็นอารมณ์ พิจารณารูปนามให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่มีตัวตน ว่างจากความยึดมั่นในบัญญัติทั้งปวง เพื่อปลดเปลื้องความทุกข์ เป็นอิสรเสรีจากกิเลสตัณหาทั้งหลาย ซึ่งวิปัสสนาภาวนานี้มีเพียงในพระพุทธศาสนาเท่านั้น

กระบวนการเกิดดับของวิญญาณเมื่ออายตนะภายใน และอายตนะภายนอกกระทบกัน การับรู้สิ่งต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อวิญญาณมีการเกิดและการดับตามเหตุปัจจัยอย่างนี้ หากพิจารณาตามหลักชีวิตมนุษย์ก็จะสรุปลงได้ ๒ ส่วน คือ กายกับใจ ถ้าพิจารณาตามหลักปฏิจจสมุปบาท  กายกับใจต่างก็อาศัยกัน หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งก็ดำรงความมีชีวิตอยู่ไม่ได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมดับไป สถานภาพของวิญญาณจึงตกอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕