หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาสุชิน ฐิตสีโล (นราเกตุ)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๒ ครั้ง
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศีลกับการบรรลุธรรม
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาสุชิน ฐิตสีโล (นราเกตุ) ข้อมูลวันที่ : ๑๖/๐๘/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(วิปัสนาภาวนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรดิลก (กิตติวัฒน์ กิตฺติวฑฺฒโน)
  จรูญ วรรณกสิณานนท์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘/มีนาคม/๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

                                        บทคัดย่อ


วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษาศีลในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาการบรรลุธรรมในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างศีลกับการบรรลุธรรม โดยศึกษาข้อมูลจากคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวบรวม สรุป วิเคราะห์ เรียบเรียงบรรยายเชิงพรรณนา ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า
ศีลในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือ ๑) จุลศีล (ศีลระดับพื้นฐาน) ศีล ๕ ของคฤหัสถ์ทั่วไป เพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาของบุคคล ให้มีสภาพปกติเรียบร้อยดีงาม มีความปกติสุข ด้วยการไม่เบียดเบียนกัน อันเป็นประโยชน์ขั้นพื้นฐานของผู้อยู่ในสังคม ๒) มัชฌิมศีล (ศีลระดับกลาง) ศีล ๘ หรือ ศีล ๑๐ ของกัลยาชน ผู้ต้องการคุณธรรมที่สูงขึ้น ที่บริสุทธิ์ หมดจดยิ่งขึ้น โดยมีข้อปฏิบัติเพิ่มขึ้นไปอีก เพื่อที่จะรองรับคุณธรรมขั้นสูงขึ้นไป ๓) มหาศีล (ศีลระดับสูง) ศีล ๒๒๗ สำหรับพระภิกษุ มีข้อห้ามที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดไว้แก่ภิกษุผู้ล่วงละเมิด มีโทษหนักบ้าง โทษเบาบ้าง โทษอย่างหนักต้องพ้นจากการเป็นพระภิกษุแก้ไขไม่ได้ และโทษอย่างเบาให้พระภิกษุทำความบริสุทธิ์ด้วยตนเอง ด้วยการแสดงอาบัติ และมีข้ออนุญาตให้พระภิกษุต้องประพฤติ ในเรื่องของมารยาท การสำรวมระวังกายและวาจา เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยงดงามของพระภิกษุสงฆ์ในข้อปฏิบัติพื้นฐานอันเอื้อเฟื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุสงฆ์
             การบรรลุธรรม คือการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาจนได้บรรลุโลกุตรธรรม ๙ ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ โดยมีองค์ธรรมที่เกื้อกูลต่อการบรรลุธรรมที่เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเป็นเครื่องประกอบกับหลักสติปัฏฐาน ๔ อันเป็นแนวทางปฏิบัติที่สามารถกำจัดสังโยชน์ ทั้ง ๑๐ ประการ ได้โดยสิ้นเชิง
             ศีลกับการบรรลุธรรม ศีลเป็นการควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาของบุคคล ให้มีสภาพปกติเรียบร้อย ต้องอาศัยความบริสุทธิ์แห่งศีลของบุคคลผู้ปฏิบัติตามระดับของศีลและประเภทของบุคคลนั้น เช่น คฤหัสถ์ก็ต้องรักษาศีล ๕ ให้บริบูรณ์ คฤหัสถ์ผู้ต้องการคุณธรรมเพิ่มขึ้นก็ต้องรักษาศีล ๘, ศีล ๑๐ ให้บริบูรณ์  พระภิกษุต้องรักษาศีล ๒๒๗ ตามวินัยบัญญัติ ให้บริบูรณ์ มิให้บกพร่อง ความบริสุทธิ์แห่งศีลนี้สามารถที่จะกำจัดกิเลสอย่างหยาบได้และชำระจิตให้บริสุทธิ์ ศีลเป็นผู้นำสำคัญที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องต่อการบรรลุธรรมทั้งในโลกียะธรรมและโลกุตรธรรมตามหลักไตรสิกขา เมื่อมีศีลเป็นพื้นฐานย่อมทำให้เกิดสมาธิ เมื่อมีสมาธิเป็นพื้นฐานย่อมเกิดปัญญา เมื่อปัญญารู้แจ้ง จิตย่อมหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งหลาย ศีลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นรากเหง้าในการทำให้กุศลเจริญขึ้น เป็นหัวหน้าในพระพุทธศาสนาอันจะนำไปสู่มรรค ผล และนิพพาน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕