หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาอิศเรศ ฐิตจิตฺโต
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๙ ครั้ง
วิเคราะห์การใช้ภาษาในการเผยแผ่พุทธธรรม
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาอิศเรศ ฐิตจิตฺโต ข้อมูลวันที่ : ๐๕/๐๔/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เอกฉัท จารุเมธีชน
  -
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2558
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

             สารนิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการ คือ เพื่อศึกษาการใช้ภาษาในการเผยแผ่พุทธธรรมสมัยพุทธกาล และเพื่อศึกษาวิเคราะห์การใช้ภาษาในการเผยแผ่พุทธธรรมยุคโลกาภิวัตน์  โดยการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง และมีข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย นำมาวิเคราะห์แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์

             ผลการศึกษาพบว่า การเผยแผ่พุทธธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการดำรงชีวิตอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ตลอดจนพุทธศาสนิกชนที่แต่ละคนเกี่ยวข้องอยู่ เนื่องจากปัจจัยของ คำว่า “การเผยแผ่พุทธธรรม” ในภาษาบาลี ที่เป็นศัพท์บัญญัติเฉพาะในพระไตรปิฎก มิได้ถูกบัญญัติขึ้นโดยตรงเมื่อกล่าวโดยภาพรวม ปัจจัยการใช้ภาษาในการเผยแผ่พุทธธรรม ในแนวคิดมุมมองทางพระพุทธศาสนาอยู่ในส่วนที่เป็นระบบจริยธรรม เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับตัวพระธรรมกถึกเอง มีความเกี่ยวข้องทั้งในระดับปัจเจกและในระดับสังคม โดยสามารถจำแนกแนวคิดออกเป็น ๒ แนวทาง ได้แก่ ๑) แนวคิดเกี่ยวกับการเผยแผ่พุทธธรรม สำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม และ ๒) แนวคิดเกี่ยวกับการเผยแผ่พุทธธรรมในการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง

             ปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาในการเข้าใจภาษาพุทธธรรมในปัจจุบัน เพราะความเจริญด้านเทคโนโลยี มีความก้าวหน้ามาก การจะสื่อสิ่งใดก็ตามต้องอาศัยการสื่อกลางเป็นสื่อนำไปสู่การเข้าใจ สื่อวิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต หนังสือต่าง ๆ คือ ปัจจัยที่พาสารธรรมะไปสู่ผู้ชม ผู้ฟังได้มากและรวดเร็วหากพระธรรมกถึกใช้ภาษาที่ลึก ภาษาที่แปลกหรือภาษาใหม่เกินไป วิชาการเกินไป ผู้ฟังย่อมไม่รู้ คนยุคใหม่ไม่ใส่ใจภาษาท้องถิ่น หรือภาษารากเหง้าทางวัฒนธรรมของตนเอง วัยก็เป็นอุปสรรคต่อการเข้าใจพุทธธรรม วัยเด็กจะยังไม่เข้าใจธรรมะดีนัก ส่วนวัยรุ่นยังคงต้องการความเป็นอิสระ พอใจ อ่อนไหวในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ไว เบื่อง่าย จิตใจไม่นิ่งพอไม่มั่นคง การศึกษา คนที่มีการศึกษาย่อมมีนิสัยชอบวิจารณ์ วิเคราะห์ หรือรู้มาก คิดมาก สงสัยมาก ย่อมก่อให้เกิดปัญหา คือ เชื่อคนอื่นยาก เชื่อมั่นตนเองมากไป ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการเข้าใจธรรมะได้เช่นกัน ความไม่ใส่ใจ ความไม่สนใจในเรื่องศาสนา การปฏิบัติธรรม การไม่ขวนขวายหาความรู้ใส่ตัว

             แนวทางการเผยแผ่พุทธธรรมดังกล่าวนี้ ผู้เผยแผ่พุทธธรรม คือองค์พระธรรมกถึก ควรศึกษาเรียนรู้ให้มาก รู้ทันโลกยุคใหม่ และในขณะเดียวกัน ควรปฏิบัติธรรม ให้เกิดปัญญาอย่างแท้จริงด้วย ควรหาทางสร้างสรรค์ ในการทำงานร่วมกัน อย่างมีระบบที่ชัดเจน มีการจัดระบบการบริหาร การจัดการ การประเมินผลงานด้วย ควรนำเสนอธรรมะสู่พุทธศาสนิกชน ในรูปแบบบันเทิง ผู้เผยแผ่พุทธธรรม ควรใช้ภาษาที่ง่าย อยู่ในโลกความเป็นจริง และควรใช้ภาษาที่ร่วมสมัยด้วย ควรนำวัฒนธรรม มาวิเคราะห์ด้วย จะเห็นความละเอียดอ่อนของท้องถิ่น การศึกษา สังคม ค่านิยม วัย การศึกษา การอยู่กับธรรมชาติเป็นพื้นหลัง ของพฤติกรรมชาวบ้านชุมชนโนนม่วงด้วย เนื่องจากว่า ชาวบ้านชุมชนโนนม่วง อยู่กับวัฒนธรรม ธรรมชาติ ครอบครัว วิญญาณ ผี ด้วยความศรัทธามาแต่เก่าก่อน

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕