หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาภิรัฐกรณ์ อํสุมาลี (พันนาวา)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๕ ครั้ง
มาลัยยวัตถุทีปนีฎีกา : การตรวจชำระและศึกษาวิเคราะห์(๒๕๔๙)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาภิรัฐกรณ์ อํสุมาลี (พันนาวา) ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๐๔/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(บาลี)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
 
 
 
วันสำเร็จการศึกษา : ๓๐ / มิถุนายน / ๒๕๔๙
 
บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ปริวรรตคัมภีร์มาลัยยวัตถุทีปนีฎีกาจากต้นฉบับภาษาบาลีอักษรขอม เป็นภาษาบาลีไทย พร้อมทั้งได้ตรวจชำระ ศึกษาวิเคราะห์ และแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ทำให้ทราบความเป็นมาของคัมภีร์นี้ วิวัฒนาการความเป็นมาของการคัดลอกและการจารต้นฉบับ วิธีการจารลงในใบลาน ข้อผิดพลาดในการจาร ลักษณะของไวยากรณ์ การอธิบายเนื้อหาพร้อมทั้งนิยามความหมายและการเชื่อมความของคำในประโยค คัมภีร์นี้ผู้แต่งคือพระภิกษุชาวไทย ชื่อว่าพระพุทธสิริสัทธรรมกิตติมหาสามี มีชีวิตอยู่ในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท กรุงสุโขทัย ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๗ - พ.ศ. ๑๙๑๒
เนื้อหาของวิทยานิพนธ์นี้ แบ่งออกเป็น ๕ บท บทแรก เป็นบทนำ กล่าวถึงความเป็นมาของปัญหาตลอดถึงวิธีการดำเนินการวิจัยและตรวจชำระ บทที่ ๒ ว่าด้วยประวัติผู้แต่ง โครงสร้างของเนื้อหา ลักษณะการประพันธ์ สำนวนภาษา และวิธีการจารลงในใบลาน บทที่ ๓ คัมภีร์มาลัยยวัตถุทีปนีฎีกาที่ตรวจชำระแล้วพร้อมทั้งข้อผิดพลาดที่เกิดจากการจารผิดพลาด บทที่ ๔ คัมภีร์มาลัยยวัตถุทีปนีฎีกา แปลเป็นภาษาไทย อักษรไทย บทที่ ๕ บทสรุปและข้อเสนอแนะ
ผลการวิจัยพบว่า ผู้แต่งคัมภีร์มาลัยยวัตถุทีปนีฎีกา ได้รวบรวมเนื้อหาจากคัมภีร์ต่าง ๆ มาปรับปรุงและแต่งเสริมเนื้อความ แต่ความหมายยังคงเดิม ในคัมภีร์นี้ผู้แต่งนำเอาเนื้อหาสาระจากคัมภีร์มาเลยยเทวัตเถรวัตถุ มาอธิบายขยายเนื้อความหลักคำสอนที่มีอยู่ในพระพุทธศาสนา เช่น เรื่อง บุญ บาป นรก และสวรรค์ ซึ่งเป็นหลักจริยธรรมให้คนทำความดี (บุญ) ละเว้นความชั่ว (บาป) ทำให้ผู้อ่านมีความรู้เกี่ยวกับการทำความดี (บุญ) ที่เน้นมากที่สุดในคัมภีร์นี้คือ ทานบารมี ได้แก่ การให้ทาน และการฟังเทศน์มหาเวสสันดรชาดกให้จบภายในวันเดียว

Download : 254911.pdf


 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕