หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » บุญ ทองเขียว
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
การมีส่วนร่วมของครูในกระบวนการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อผู้วิจัย : บุญ ทองเขียว ข้อมูลวันที่ : ๐๒/๐๓/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพปริยัติเมธี
  วรกฤต เถื่อนช้าง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาการมีส่วนร่วมของครูในกระบวนการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ไว้ ๓ ประการ ได้แก่ ๑)เพื่อศึกษาแนวคิดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา ๒)เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีการมีส่วนร่วมของครูในกระบวนการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์  ๓)เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของครูในกระบวนการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเป็นการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Analysis) โดยศึกษาจากเอกสารปฐมภูมิและเอกสารทุติยภูมิ  โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) และสรุปผลนำเสนอเชิงพรรณนา

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑, แนวคิดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวไตรสิกขา คือ การเรียนรู้ให้กับนักเรียนผ่านการฝึกฝนและพัฒนาตนเองให้มีชีวิตที่ดีงามทั้งด้านร่างกายและจิตใจโดยเริ่มต้นจากปัจจัยสัมมาทิฏฐิ และพัฒนาพฤติกรรมด้วยการรักษาศีล ปฏิบัติสมาธิ และเข้าถึงความจริงด้วยปัญญา และมีเป้าหมายเพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา และด้านจิตวิญญาณ ส่วนการบริหารจัดการ มี ๓ ขั้นตอน คือ (๑)  ขั้นตอนการเตรียมการด้านบุคลากร แผนงาน และทรัพยากร (๒) ด้านการดำเนินการพัฒนาผู้เรียนและบุคลากร ด้วยการดูแล สนับสนุน ด้วยหลักกัลยาณมิตตธรรม หลักอิทธิบาท ๔ และหลักอุปัญาตธรรม หลักโยนิโสมนสิการ  หลักปรโตโฆสะ หลักภาวนา ๔ และ (๓) ประเมินผลและเผยแพร่ผลการดำเนินการต่อสาธารณชน     

๒. แนวคิดทฤษฎีการมีส่วนร่วมของครูในกระบวนการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา เป็นการกระทำกิจกรรมร่วมกันโดยบุคคลที่อยู่เป็นกลุ่มชน ๓ ลักษณะ คือ การมีส่วนร่วมโดยตรง การมีส่วนร่วมทางอ้อม และการมีส่วนร่วมโดยผ่านองค์การที่ไม่ใช่ผู้แทนของประชาชนโดยตรง ในกระบวนการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขามีปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ ความเคารพ ศรัทธา และความพึงพอใจส่วนบุคคล และการมีส่วนร่วมที่เกิดผลสำเร็จคือ การจัดการศึกษาที่ประสานความร่วมมือระหว่างบ้าน วัด ชุมชน และสถานการศึกษา

๓. การมีส่วนร่วมของครูในกระบวนการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาในโรงเรียนถมศึกษา อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ พบว่าควรให้ครูมีส่วนร่วมโดยกระทำร่วมกันโดยบุคคลในกลุ่ม เช่น กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐาน ครูควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจตามกระบวนการทั้งการวางแผนและการพัฒนาบุคลากร การดูแลสนับสนุน โดยใช้หลักกัลยาณมิตตธรรม หลักอิทธิบาท ๔  หลักอุปัญาตธรรม หลักโยนิโสมนสิการ  หลักปรโตโฆสะ หลักภาวนา๔ และหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕