หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นิดา เหล่าฤกษ์อุทัย
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๓ ครั้ง
แรงจูงใจของชาวพุทธไทยต่อการจาริกแสวงบุญ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
ชื่อผู้วิจัย : นิดา เหล่าฤกษ์อุทัย ข้อมูลวันที่ : ๐๙/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาทวี มหาปญฺโญ
  วีระ วงศ์สรรค์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยนี้ เป็นการศึกษาแรงจูงใจของชาวพุทธไทยต่อการจาริกแสวงบุญ ณ           สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ๓ ประการ คือ ๑) เพื่อศึกษาแรงจูงใจของชาวพุทธไทยต่อการจาริกแสวงบุญ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ๒) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแรงจูงใจของชาวพุทธไทยต่อการจาริกแสวงบุญ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา  ประสบการณ์การเดินทางไปแสวงบุญต่างประเทศ อาชีพ และรายได้ต่อเดือน ๓) เพื่อศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของชาวพุทธไทยต่อการจาริกแสวงบุญ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล โดยวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน ๔๐๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ตัวแปรทางเดียว และเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วย วิธี LSD

จากการวิจัยพบว่า

๑.    ด้านระดับแรงจูงใจของชาวพุทธไทยต่อการจาริกแสวงบุญ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล พบว่า ระดับแรงจูงใจภายนอกและภายใน โดยรวม อยู่ในระดับดีมาก (= .๓๐) และ   (= .๓๙) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แรงจูงใจภายนอกต่อ ลุมพินี สถานที่ประสูติ และแรงจูงใจภายในต่อ กุสินารา สถานที่ปรินิพพาน มีระดับแรงจูงใจอยู่ในระดับดีมากที่สุด

๒.    ด้านเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจชาวพุทธไทยต่อการจาริกแสวงบุญ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล พบว่า ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง คิดเป็นร้อยละ ๖๓.๗๕ มีอายุระหว่าง ๔๑ – ๖๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๒๕ การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ ๕๖.๐๐ ประสบการณ์การเดินทางไปแสวงบุญต่างประเทศ ๑ – ๕ ครั้ง คิดเป็นร้อยละ ๔๙.๕๐ อาชีพธุรกิจส่วนตัว คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๗๕ และมีรายได้ต่อเดือนมากกว่า ๒๕,๐๐๐ บาท คิดเป็นร้อยละ ๔๓.๐๐

๓.    ด้านความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของผู้จาริกบุญ พบว่า ชาวพุทธไทยมีความคิดเห็นว่า การจาริกแสวงบุญนี้ ได้บรรลุวัตถุประสงค์ของตนที่ต้องการพิสูจน์ด้วยตาของตนเองว่าพระพุทธเจ้ามีจริง ได้ยินเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ทำให้ต้องการเดินทาง และเชื่อว่าตายแล้วไม่ตกนรกเมื่อได้มาสังเวชนียสถาน สำหรับข้อเสนอแนะ ต้องการให้การเดินทางสั้นกว่านี้ เนื่องจากเหน็ดเหนื่อยเกินไป ต้องการให้พระธรรมวิทยากร ร่วมเดินทางตลอดการเดินทาง และไม่ต้องการให้ส่งเสียงดังบริเวณสังเวชนียสถาน

๔.    การจาริกแสวงบุญ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ของชาวพุทธไทย เกิดจากความเชื่อและความศรัทธาในพระพุทธเจ้า จนเกิดเป็นแรงจูงใจ ให้ต้องการเดินทางไปยังสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล เพื่อแสดงความเคารพ และถวายสักการบูชา ณ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ซึ่งเป็นสังเวชนียสถานสำคัญในพระไตรปิฎก ตามพุทธวจนะ เพื่อพุทธานุสสติ            ธรรมานุสสติ และสังฆานุสสติ

๕.    อานิสงส์ที่ได้จากการจาริกแสวงบุญ ณ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล ได้แก่ คุณค่าต่อบุคคล คือ ความไม่ประมาท คุณค่าทางสังคม คือ เพิ่มศักยภาพของชาวพุทธไทย ในการสืบทอด   พระสัทธรรม เพื่อทำนุบำรุงให้พระศาสนามั่นคงสืบไป การจาริกบุญ ถือว่าเป็นการกระทำความดี   ผลบุญเกิดขึ้นครบทั้ง ๓ ด้าน คือ ทางกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม อันประกอบด้วยกุศลเจตนา คือ ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน ศีลมัย บุญเกิดจากการถือศีล และภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา ซึ่งเป็นอานิสงส์นำสู่สุคติโลกสวรรค์และเข้าสู่นิพพานได้ ในโลกนี้และโลกหน้า

 ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕