หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาจรัญ ภูริโกวิโท
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๕ ครั้ง
การป้องกันการทุจริตในบริบทของ ป.ป.ช. ตามแนวทางพระพุทธศาสนา
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาจรัญ ภูริโกวิโท ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  ทรงวิทย์ แก้วศรี
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์    ประการ  คือ  (๑)  เพื่อศึกษาการทุจริตในบริบทของ ป.ป.ช. (๒)  เพื่อศึกษาการทุจริตและการป้องกันการทุจริตตามแนวทางพระพุทธศาสนาและ  (๓)  เพื่อเสนอแนวทางการป้องกันการทุจริตในบริบทของ ป.ป.ช. ตามแนวทางพระพุทธศาสนา

จากการวิจัยพบว่า  การทุจริตในบริบทของ ป.ป.ช. นั้นหมายรวมถึงการฉ้อราษฎร์     บังหลวง  และการคอร์รัปชั่น  หมายถึงการทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่  การประพฤติปฏิบัติคดโกง     การเบียดบังทรัพย์ของหลวงมาเป็นของตน  และการแสวงหาผลประโยชน์ที่ไม่ชอบธรรมด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น  โดยส่วนใหญ่แล้วสาเหตุที่ทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นมีอยู่    ด้านคือ   (๑)  ด้านเศรษฐกิจและการครองชีพ  (๒)  ด้านระบบบริหารราชการ  (๓)  ด้านสังคมวัฒนธรรมและศีลธรรมและ  (๔)  ด้านกฎหมายและวิธีพิจารณา  เมื่อเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นแล้ว  จะมีสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นหลักรวมทั้งองค์กรอื่น ๆ  ในการทำหน้าที่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรนั้น ๆ 

การทุจริตและการป้องกันการทุจริตตามแนวทางพระพุทธศาสนานั้น  พบว่า  ปัจจัยที่ทำให้เกิดการทุจริต  สาเหตุเกิดมาจาก  (๑)  โลภะ  ความโลภที่ไม่รู้จักพอ  ทั้งความโลภเชิงวัตถุนิยมและความโลภทางสังคม  (๒)  อทินนาทาน  การถือเอาสิ่งของของผู้อื่นไป  ด้วยอาการแห่งการขโมยสิ่งของ  ทั้งการลักทรัพย์  การฉ้อโกง  การยักยอก  การเลี่ยงภาษี  และการสับเปลี่ยน  (๓)  วิหิงสา  ความนึกคิดเบียดเบียนในทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตนจนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน  หลักธรรมในการป้องกันการทุจริต  ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเตือนสติให้ละเว้นจากพฤติกรรมทุจริตทั้งหลาย  ได้แก่  (๑)  ทาน  การให้  เพราะเป็นการละเว้นความเห็นแก่ตัว  (๒)  สันโดษ  ความยินดี  พอใจ  ความรู้จักพอเพียงในสิ่งที่ตนมี  (๓)  สัมมาอาชีวะ  การละเว้นจากมิจฉาอาชีวะ  ประกอบแต่การงานที่สุจริต  (๔)  หิริโอตตัปปะ  ความละอายและความเกรงกลัวต่อบาปทุจริตทั้งปวง  (๕)  อวิหิงสา  การไม่เบียดเบียน  การไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน  (๖)  เมตตา  ความปรารถนาดีต่อผู้อื่นให้มีความสุข  ส่วนแนวทางการป้องกันการทุจริตในบริบทของ ป.ป.ช. ตามแนวทางพระพุทธศาสนานั้น  จะเป็นการป้องกันเฉพาะในส่วนของบุคคลที่จะช่วยยับยั้งชั่งใจในการที่จะคิดทำทุจริตต่าง ๆ  โดยมีหลักสันโดษและหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของแต่ละบุคคล  ถ้าหากมีการกระทำทุจริตเกิดขึ้น ป.ป.ช. ก็จะมีมาตรการการป้องกันและปราบปราม  ตามกฎหมายโดยมีบทลงโทษตามกฎหมายนั้น ๆ 

 ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕