หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาบุญฉัตร ตปสี
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๒ ครั้ง
อิทธิพลของพระพุทธคุณบทโลกวิทูที่มีต่อวรรณกรรมไทย
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาบุญฉัตร ตปสี ข้อมูลวันที่ : ๐๘/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษณะ ตรุโณ
  รังสี สุทนต์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๘
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

 

วิทยานิพนธ์ นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ เพื่อศึกษาความหมายของพระพุทธคุณ
บทโลกวิทูในคัมภีร์พระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาประเภทแห่งโลกที่พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้ง และเพื่อศึกษาอิทธิพลพระพุทธคุณบทโลกวิทูที่มีต่อวรรณกรรมไทย

 

ผลการวิจัยพบว่า พระพุทธคุณบท  โลกวิทู ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา หมายถึง ผู้รู้แจ้งโลกคำว่า ผู้รู้แจ้งคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งโลกทั้ง ๓ คือ ๑) สังขารโลก โลกคือ สังขาร ๒) สัตว์โลก โลกคือ หมู่สัตว์ ๓) โอกาสโลก โลกคือ แผ่นดิน

ประเภทของโลกที่พระพุทธเจ้าทรงรู้แจ้ง คือ ๑) สังขารโลก หมายถึง การปรุงแต่ง,
สิ่งที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง ในเรื่องไตรลักษณะ หมายถึง ร่างกาย ตัวตน ถูกปรุงแต่งขึ้นจากธาตุ ๔
มี ๒ ประการ คือ (๑) อุปาทินนกสังขาร = สังขารมีใจครอง (๒) อนุปาทินนกสังขาร = สังขารไม่มีใจครอง ๒) สัตวโลก หมายถึง ผู้ติดข้องอยู่ในขันธ์ ๕ ด้วยความพอใจรักใคร่ สัตว์ หมายถึง สิ่งมีชีวิต
มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวได้  ซึ่งรวมถึงสิ่งที่มีชีวิต ที่มี ๒-๔ มากเท้า และไม่มีเท้าทั้งหมดนอกจากพืชและต้นไม้ คือ เทวดา มาร พรหม  เป็นต้น ๓) โอกาสโลก หมายถึง โลกอันกำหนดด้วยโอกาส โลกอันมีในอวกาศ โลกซึ่งเป็นโอกาสแก่สัตว์ทั้งหลายที่จะอยู่อาศัย โลกคือแผ่นดินอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทั้งหลาย
, จักรวาล

 

อิทธิพลของพระพุทธคุณบทโลกวิทูที่มีต่อวรรณกรรมไทย มีดังนี้ คือ มีอิทธิพลต่อวรรณกรรมไทย เรื่อง “ไตรภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง” โดยมีอธิบายว่าพระพุทธองค์ ทรงรู้แจ้งโลก ต่อไปนี้  คือ  โลกในความหมายของพระพุทธคุณบทโลกวิทู หมายถึง โลก” (ภูมิ) ๓ ได้แก่           ๑. กามภูมิ (กามโลก) มี ๓ ประเภทใหญ่ คือ ๑) อบายภูมิ ๔, ๒) มนุสสภูมิ ๑, ๓) เทวดาภูมิ ๖       รวมเรียกว่า กามภูมิ ๑๑ ๒. รูปภูมิ (รูปโลก) มี ๑๖ ประเภท คือ ๑) ปฐมฌานภูมิ ๓, ๒) ทุติยฌาน-ภูมิ ๓, ๓) ตติยฌานภูมิ ๓, ๔) จตุตถฌานภูมิ ๗, รวมเรียกว่า รูปภูมิ ๑๖  ๓. อรูปภูมิ (อรูปโลก)
มี ๔  ประเภท คือ ๑. อากาสานัญจายตน เป็นต้น รวมทั้งหมดเป็น ๓๑ ภูมิ หรือเรียกว่า ไตรภูมิ

 

โลกในวรรณกรรมไทย ว่าโดยความเป็นโลก สมัยอยุธยาที่ปรากฏในหนังสือมี ๓๕ เรื่องเช่น ๑) กาพย์มหาชาติ เป็นต้น สมัยธนบุรี ที่ปรากฏ ในหนังสือมี ๘ เรื่อง เช่น ๑) บทละครเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น สมัยรัตนโกสินทร์ (หมวดศาสนจักร) มี ๓ เล่ม ได้แก่“คัมภีร์มหาวงศ์ พงศาวดารลังกา เป็นต้น ในสมัยปัจจุบัน ร้อยกรองไทยปัจจุบัน เรื่องบันเทิงคดี เป็นต้น เมื่อกล่าวโดยสรุป คือ (๑) โลกหมายถึง หมู่มนุษย์ (๒) โลกหมายถึง แผ่นดินที่เป็นที่อยู่อาศัย (๓) โลกหมายถึง สังขาร ได้แก่ ความเกิด-ความดับแห่งโลก คือ การปรุงแต่งทางอารมณ์ ๖ มี รูปารมณ์  สัททารมณ์ เป็นต้น  (๔) โลกหมายถึง ความแตกสลาย ได้แก่ จักขุปสาท รูปารมณ์ จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส  มีความแตกสลายเป็นธรรมดา แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็น สุข ทุกข์ หรือมิใช่สุข มิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัยก็มีความแตกสลายเป็นธรรมดา เป็นต้นความหมายของโลกที่ปรากฏในวรรณกรรมไทยนี้ คือ โลกในอดีต ส่งผลถึงโลกปัจจุบัน และยังมีวรรณกรรมไทย อีกหลายเรื่องมีความหมายของคำว่า “โลก” ที่แตกต่างกันอยู่อีกมาก

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕