หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวิมลจิตตานุโยค สญฺญจิตฺโต
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๕ ครั้ง
วิธีการใช้ยาสมุนไพรเชิงพุทธบูรณาการ
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวิมลจิตตานุโยค สญฺญจิตฺโต ข้อมูลวันที่ : ๐๗/๐๒/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร
  ประพันธ์ ศุภษร
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๙
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

งานวิจัยวิทยานิพนธ์เล่มนี้  มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาวิธีการใช้ยาสมุนไพรในคัมภีร์พระพุทธศาสนา  (๒) เพื่อศึกษาวิธีการใช้ยาสมุนไพรตามการแพทย์แผนไทยในปัจจุบัน และ  (๓) เพื่อบูรณาการวิธีการใช้ยาสมุนไพรตามการแพทย์แผนไทยปัจจุบันกับวิธีการใช้สมุนไพรในคัมภีร์พระพุทธศาสนา  ทั้งนี้ เป็นการวิจัยเอกสารจากคัมภีร์พระพุทธศาสนาและเอกสารวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ผลการวิจัยพบว่า :  

 

สมุนไพรมีคุณประโยชน์และมีค่าอยู่ในตัว ไม่ว่าจะถูกนำมาใช้หรือถูกทอดทิ้งตามสภาพธรรมชาติ สมุนไพรยังเป็นของคู่โลกคู่มนุษย์มาแต่โบราณ ความจริงที่ว่ามนุษย์รู้จักนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์เป็นยา เพื่อบำบัดและรักษาโรค สมุนไพรได้มาจากธรรมชาติของต้นไม้ชนิดต่างๆ ยังคงปฏิบัติสืบต่อเนื่องมาแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งมีพระพุทธบัญญัติและกล่าวถึงสมุนไพรในพระวินัยปิฎก โดยเฉพาะเภสัชชักขันธกะ เช่น ขมิ้น ขิง ดีปลี สมอ มะขามป้อม และมหาหิงคุ์ เป็นต้น ซึ่งในสมัยพุทธกาลนั้น ชีวกโกมารภัจ แพทย์ประจำราชสำนักและประจำพระพุทธองค์มีบทบาทสำคัญยิ่ง

ในวงการแพทย์แผนโบราณของไทยในปัจจุบันนี้ ยังคงปฏิบัติสืบต่อเนื่องมาแต่สมัยพุทธกาล อาจมีแตกต่างบ้างเรื่องวิธีการบำบัดรักษา ส่วนสมุนไพรและเครื่องประกอบไม่แตกต่างกันมากนัก สมุนไพรส่วนมากที่ใช้เป็นยายังคงเป็น รากไม้ ใบไม้ ผลไม้ ยางไม้ น้ำฝาด เกลือแร่ ธาตุต่างๆ  น้ำมันเหลวที่ได้จากสัตว์ และเภสัชทั้ง ๕ ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย เป็นต้น   สมุนไพรที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นยาแผนโบราณและยาแผนปัจจุบัน เพื่อใช้บำบัดและรักษาโรค  วิธีการใช้สมุนไพรในการบำบัดรักษาโรค  คือโดยการใช้รับประทาน ใช้ทา ใช้หยอด ใช้นัตถุ์ยาหรือการสูดดมควัน เป็นต้น ในที่นี้ได้แสดงตารางเปรียบเทียบให้เห็นสมุนไพรที่ใช้ในสมัยพุทธกาลกับที่ใช้ในแพทย์แผนไทยปัจจุบันไว้ด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังมีโรคที่เกิดทางใจ อันเกิดแต่รัก โลภ โกรธ หลง ทำให้จิตเศร้าหมอง  ดังนั้น จำเป็นต้องใช้วิธีบำบัดรักษาด้วยธรรมโอสถ โดยการใช้สวดมนต์ภาวนา เช่น สังวัธยาย โพชฌงค์ ๗ พิจารณาสังขารให้เห็นสภาวธรรมแห่งความเป็นจริง เช่น เห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และอนัตตา นอกจากนี้มีการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน เพี่อคลายทุกข์ เมื่อจิตใจเป็นสุข ย่อมทำให้สุขภาพกายดีเป็นสุขตามไปด้วย โดยองค์รวมต้องมีการบูรณาการรักษาโรคทั้งกายและใจควบคู่กันไปตามแนวทางพระพุทธศาสนา

ดาวน์โหลด

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕