หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » วราภูมิ สุวะโสภา
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๓ ครั้ง
การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักพุทธธรรม
ชื่อผู้วิจัย : วราภูมิ สุวะโสภา ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๑/๒๐๑๗
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  อภินันท์ จันตะนี
  ธัชชนันท์ อิศรเดช
  -
วันสำเร็จการศึกษา :
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาทั่วไปของการดำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ๒) เพื่อศึกษากระบวนการในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนขององค์ชุมชนปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักพุทธธรรม และ ๓) นำเสนอแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักพุทธธรรม

               ดำเนินการวิจัยโดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัย      เชิงปริมาณ  การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่มเฉพาะของผู้เชี่ยวชาญ ๒๑ คน และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลหลักเลือกแบบเจาะจง จำนวน ๒๔ รูป/คน  โดยการสัมภาษณ์   เชิงลึก วิธีวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการอุปนัยวิเคราะห์และการพรรณนาความและการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๐๘ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage ) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation )

      ผลการวิจัยพบว่า

               ๑. สภาพปัญหาทั่วไปของการดำเนินการเศรษฐกิจชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พบว่า ครัวเรือนชุมชนส่วนใหญ่อยู่ในภาวะพอยังชีพมีรายได้ค่อนข้างน้อยแต่ก็ใช้จ่ายอย่างเพียงพอไม่ใช้จ่ายเกินตัวและมีส่วนน้อยที่รายได้ค่อนข้างสูง แม้ว่าชุมชนจะไม่มีการรวมกลุ่มในการผลิตสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่งก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

               ๒. กระบวนการในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักพุทธธรรม  จัดทำแผนและกำหนดยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมและสนับสนุนจัดอบรมให้ความรู้และจัดสรรงบประมาณโดยกำหนดยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานล่างเพื่อการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน

               ๓. แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักพุทธธรรมทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ ๔ นำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาชีวิตในสังคมไทย  ๑) การนำหลักอุฏฐานสัมปทามาแก้ปัญหาการขาดความเพียรหรือแก้ไขความเกียจคร้านสิ่งสำคัญก็คือการระมัดระวังหรือสำรวมรักษากาย วาจา ใจ  ๒) การนำหลักอารักขสัมปทามาแก้ปัญหาชีวิตการไม่รู้จักรักษาทรัพย์คือการใช้เงินตามหลักธรรมคนรู้จักทำมาหาเลี้ยง  ๓) การนำหลักกัลยาณมิตตามาแก้ปัญหาชีวิตการคบคนพาล ความมีกัลยาณมิตรคือ มีผู้แนะนำสั่งสอนที่ปรึกษาเพื่อนที่คบหาและบุคคลผู้แวดล้อมที่ดี ความรู้จักเลือกเสวนาบุคคล  และ  ๔) การนำหลักสมชีวิตามาแก้ปัญหาชีวิตการใช้จ่ายทรัพย์เกินฐานะให้รู้จักประมาณในการเลี้ยงชีวิตโดยทางชอบธรรมกล่าวคือการดำรงชีวิตตามหลักสัมมาอาชีวะ ประพฤติปฏิบัติตามหลักของศีลซึ่งเป็นหลักขั้นพื้นฐานที่ประคับประคองกาย วาจาให้เรียบร้อยและทำงานที่สุจริต

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕