หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหาปราโมทย์ มหาวีริโย (ปีกรม)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๙ ครั้ง
การศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระราชรัตนรังษี(วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) ในฐานะพระธรรมทูตไทยประจำประเทศอินเดีย(๒๕๔๘)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหาปราโมทย์ มหาวีริโย (ปีกรม) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๐๗/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
  อาจารย์สนิท ศรีสำแดง
  รศ.ดร.บรรจบ บรรณรุจิ
วันสำเร็จการศึกษา : ๙ เมษายน ๒๕๔๘
 
บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติของพระธรรมทูตที่พึงประสงค์ศึกษาอุดมคติ หลักการและวิธีการในการทำงาน และศึกษาบทบาทของพระราชรัตนรังษี(วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) ในฐานะพระธรรมทูตไทยประจำประเทศอินเดีย ผลการศึกษาพบว่าคุณสมบัติของพระธรรมทูตมี ๒ ประการ ได้แก่ ๑) คุณสมบัติของพระธรรมทูต
ในสมัยพุทธกาล ประกอบด้วย ๑.๑) คุณสมบัติตามแนวโอวาทปาฏิโมกข์ ๑.๒) คุณสมบัติพื้นฐาน มีสัปปุริสธรรม คือ เป็นผู้รู้จักเหตุ รู้จักผล รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักกาลเวลา รู้จักชุมชน รู้จักบุคคล มีหลักกัลยาณมิตรในความเป็นผู้นำชุมชนให้คำแนะนำสั่งสอนการ ดำเนินชีวิตด้วยดี และมีหลักการบริหารหรือเมตตาธรรมแก่ทุกคน ๑.๓) คุณสมบัติจำเพาะ ๘ประการ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เป็นแบบอย่างแก่พระธรรมทูต ได้แก่ รู้จักฟัง พูดให้ผู้อื่นฟังได้ใฝ่ศึกษา มีความจำดี เป็นผู้รู้ชัดแจ้ง สามารถอธิบายให้คนอื่นเข้าใจ ฉลาดในการเป็นผู้นำและไม่ก่อกาทะเลาะวิวาท ๒) คุณสมบัติของพระธรรมทูตในปัจจุบันมี ๔ ประการ ได้แก่
๒.๑) มีความมั่นใจคุณค่าความดีงาม
๒.๒) ต้องเข้าใจปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น
๒.๓) มีเทคนิควิธีการสื่อสารเพื่อเข้าถึงปัญหาและความต้องการของบุคคล
๒.๔) มีความมุ่งมั่นต่ออุดมการณ์พระพุทธศาสนาพระธรรมทูตในประเทศไทยพัฒนามาจากโครงการธรรมจาริก โดยกำหนดคุณสมบัติของพระธรรมทูตจะต้องปฏิบัติต่อชุมชนสังคม มีการอบรม แนะนำสั่งสอนศีลธรรมส่งเสริมสุขภาพอนามัย และการประกอบอาชีพ ให้การศึกษาสงเคราะห์ สาธารณสงเคราะห์เป็นต้น พระธรรมทูตในต่างประเทศเกิดจากพระพุทธศาสนามีอายุครบ ๒,๕๐๐ ปี รัฐบาลไทยและรัฐบาลอินเดีย ต้องการสร้างความสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ จึงได้เชิญคณะสงฆ์ไทยเข้าไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในอินเดียอุดมคติหรืออุดมการณ์ทำงานของพระราชรัตนรังษีในฐานะพระธรรมทูตมี ๔ประการ ได้แก่
๑) หลักบริหาร คน งาน เวลา วัตถุสิ่งของ
๒) หลักบริการ เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลชนทุกหมู่เหล่า
๓) หลักบริกรรม มีความตั้งจิตแน่วแน่ทำงานอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา
๔) หลักบริสุทธิ์ การนำหลักธรรมของเถรวาทแบบไทยและวัฒนธรรมไทยไปเผยแผ่หลักการพระธรรมทูตที่เป็นปัจจัยสนับสนุนการทำงานประสบผลสำเร็จ ได้แก่หลักการตัดสินใจ ๕ ประการ คือ ประโยชน์ ประหยัด ประยุกต์ ประเพณี ประสิทธิภาพหลักการปฏิบัติงาน ๘ ประการ คือ รับงาน วางแผน เตรียมงาน ปฏิบัติงาน ตรวจสอบงาน
รายงาน ส่งงาน เก็บงานเทคนิควิธีการของพระธรรมทูต เป็นผู้รู้จักประสานความศรัทธาของบุคคลชาติต่างๆ เพื่อให้การสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผลการศึกษาบทบาทพระธรรมทูตของพระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ) ในประเทศอินเดีย ทั้ง ๖ ด้าน พบว่า บทบาทด้านการปกครอง มีการจัดแบ่งงานตามสายปกครอง บทบาทด้านการศึกษา มีการส่งเสริมการศึกษาแก่นักบวชท้องถิ่น และการส่งเสริมการศึกษาแก่นักบวชจากประเทศไทยและต่างประเทศ ด้วยการจัดทุนให้ศึกษาต่อ บทบาทด้านการศึกษาสงเคราะห์ มีการจัดตั้งโรงเรียนการกุศลของวัดเรียกว่า โรงเรียนต้นกล้า และการจัดตั้งกองทุนการศึกษาแก่นักศึกษาไทยและอินเดียทั้งที่เป็นภิกษุ คฤหัสถ์ และเยาวชนชาวอินเดีย บทบาทด้านการเผยแผ่ มีการผลิตบุคลากรเผยแผ่ในวัด และการผลิตสื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา บทบาทด้านการสาธารณูปการ มีการพัฒนาอาคารสถานที่ และการดูแลอาคารสถานที่ บทบาทด้านการสาธารณสงเคราะห์ มีการสาธารณสงเคราะห์เพื่อมนุษยธรรมในนามองค์กรชาวพุทธ และการสาธารณสงเคราะห์เพื่อพระพุทธศาสนา

Download : 254842.pdf

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕