หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูนิคมภัทรกิจ (เลี่ยม ภทฺทกาโม/มูลนอก)
 
เข้าชม : ๑๙๙๘๘ ครั้ง
ศึกษาสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๔
ชื่อผู้วิจัย : พระครูนิคมภัทรกิจ (เลี่ยม ภทฺทกาโม/มูลนอก) ข้อมูลวันที่ : ๒๑/๑๒/๒๐๑๖
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชวชิรเมธี
  วรกฤต เถื่อนช้าง
  วัฒนะ กัลป์ยาณ์พัฒนะกุล
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๗
 
บทคัดย่อ

                                                 บทคัดย่อ


               การศึกษาเรื่อง “ศึกษาสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๔” เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาพุทธวิธีการสอนแนวทางการปฏิบัติธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ๒) เพื่อศึกษาบทบาทของสำนักปฏิบัติธรรมในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค ๔ ๓) เพื่อกำหนดรูปแบบการปฏิบัติธรรมกรรมฐานที่เหมาะสมในสังคมยุคปัจจุบันเก็บข้อมูลด้วยวิธี สังเกตการณ์ (Observation) แบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) และแบบไม่มีส่วนร่วม (Non - Participant Observation) สัมภาษณ์ (Interview Guide) แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) และแบบไม่มีโครงสร้าง (Non - Structured Interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
               ผลการศึกษาพบว่า สำนักปฏิบัติธรรมที่ศึกษาทั้งหมด ๘ สำนักสอนแนวมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ สอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม หรือสอนจากสิ่งที่เห็นได้ง่ายไปสู่สิ่งที่เห็นได้ยาก บทบาทของสำนักปฏิบัติธรรมในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค ๔ พบว่า มีการสร้างศูนย์ฝึกอบรมการฝึกปฏิบัติธรรมทุกสำนัก มีการส่งเสริมและสนับสนุนและสนับสนุนการจัดอบรมภายในและออกอบรมศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม แก่ข้าราชการและประชาชนทั่วไป กำหนดให้มีการส่งเสริมสนับสนุนการเติมปัญญาให้แก่สังคมในรูปแบบต่างๆ ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดบรรพชาและอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อนเพื่อต่อต้านยาเสพติด อย่างน้อยอำเภอละ ๑ แห่งต่อปี รูปแบบการปฏิบัติธรรมกรรมฐานที่เหมาะสมที่เหมาะสมของคณะสงฆ์เขตการปกครองภาค ๔ มี ๓ องค์ประกอบ ๑) องค์ประกอบด้านสถานที่ ต้องมีความสะอาด เงียบสงบ ร่มรื่น ไม่มีเสียงรบกวนจากภายนอก ๒) องค์ประกอบด้านด้านวิทยากร ต้องมีพระวิปัสสนาจารย์หรือผู้ฝึกสอนกรรมฐานที่ผ่านการอบรมหลักสูตรพระวิปัสสนาจารย์ หรือมีความสามารถในการสอนกรรมฐานตามหลักมหาสติปัฎฐานสูตรเป็นอย่างดี ๓) องค์ประกอบด้านด้านการบริหารจัดการ เจ้าสำนักปฏิบัติธรรมมีความสนใจ และเห็นความสำคัญของการศึกษาปฏิบัติและเผยแผ่ธรรมอย่างแท้จริง

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕